Main Menu
Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Messages - samira

#1
เจ๋งครับ เป็นโครงการเล็กๆ ใช้ technology ที่น่าสนใจ แต่ไม่เคยใช้ ( bluetooth )

รบกวนช่วยบอกรายละเอียด ของ bluetooth ที่ใช้หน่อย ยี่ห้อ ราคา แหล่ง ฯ
ขอบคุณครับ
#2
ได้ติดตามกระทู้นี้มา ด้วยความสนใจยิ่ง
ก็ได้ความรู้จาก "กูรู" pa-ul & crywolf เช่นเคย

ขอแจมหน่อย ฐานะคนนอก
เขาว่า

๑ No One Is Too Old To Learn จากหนังสือ ..
http://www.amazon.com/One-Too-Old-Learn-Neuroandragogy/dp/0595387667

๒ Not Too Old To Learn จากวัดไทยใน สหราชอาณาจักร์
http://www.buddhapadipa.org/dhamma-corner/not-too-old-to-learn/

๓ จากเวปของไทย No one is too old to learn
http://anee-bakery.blogspot.com/2011/04/first-image-no-one-is-too-old-to-learn.html

อย่าดูถูกคนสูงวัยว่า เรียนไม่ได้ แค่ สี่สิบกว่า เนี้ยะ ยังหนุ่มฟ้อเลย มีเวลาเรียนอีกนาน

กลับเข้าเรื่องที่ถาม

อยากให้อุตสาหกรรมไทย ( บริษัทการค้า) small business แบบนี้ ไปได้ไกล มีแยะๆ เราจะได้เจริญ เข้มแข็งขึ้น มีเงินภาษีเข้ามากๆ
( ให้รัฐเอาไปจ่ายหนี้ข้าวที่เป็นเรื่องตอนนี้ )

ทีนี้ หากทำไม่ได้ ก็ต้องอาศัยคนอื่น หรือทำได้ "บ้าง" ก็คงต้องอาศัย consultant == (แปลว่า) ต้องจ่าย มาช่วยในศาสตร์ที่เราไม่คล่อง เช่น ก็ลองติดต่อ คนที่คล่องหรือเก่งๆในนี้ และอย่างในกระทู้นี้ ไม่ลองติดต่อ อย่าง อ Pa-ul หรือ คุณ crywolf ดูละครับ ผมว่า scale ( ระดับ) ของเขา น่าจะรับกับปัญหาแบบนี้ได้ เพราะจากที่อ่านๆ เจอๆ คุยๆ น่าจะสบายๆมากๆ สำหรับท่านเหล่านี้ ที่เอ่ยชื่อมา คิดว่าไม่เป็นระดับกิ๊กก๊อก ( ไม่แน่ใจว่า ท่านเหล่านี้จะมีเวลาให้หรือเปล่า )

จะยกตัวอย่างให้ฟังว่า ผมเคยทำงานแบบนี้  ( จากงานอดิเรก เป็นชิ้นงานทำขาย ) ผมกับเพื่อนสองคน ทำระบบออกขายแบบ Turnkey ( คือระบบเบ็ดเสร็จ เอาไปวาง ใช้ได้เลย ก็ดูเหมือนของคุณ ก็น่าจะเป็น Turnkey เหมือนกัน คือ เอาไปวางลูกค้าใช้ได้เลย )

http://en.wikipedia.org/wiki/Turnkey

เราจัดการเรื่อง hardware และเรื่อง software ทั้งทางฝั่งผู้ใช้ และ ทางฝั่งผู้ส่งนั้น เราพัฒนากันเอง ( ใช้เวลา ประมาณ 11 เดือน ) 
แต่เราไม่มีปัญหาทำ software ที่อัด( compression )และส่ง( transmission) ข้อมูลระหว่างสองฝั่ง ( ก่อนยุค internet จะเข้ามา )

เราก็เลยต้องซื้อ software ตัวรับส่งนี้จาก บริษัท Hyperterminal สมัยนั้นพอติดตั้งแต่ละแห่ง เราก็ต้องซื้อ Hyperterminal ลงในแต่ละ site เลย ตามกฎหมายเราไม่สามารถซื้อแค่ชุดเดียว แล้วลงทุก site เพราะผิดกฎที่ว่า one software for one site
ผลก็คือ เราได้สินค้าออกมา และเสถียร และเร็วมากในการส่ง แก้ปัญหาปวดหัว เรื่องการรับส่งข้อมูลไปอย่างมากเลย
แน่นอน ค่าใช้จ่ายก็ต้องรวมโดยเราก็ส่งต่อผ่านไปยังลูกค้า ในราคาที่สูงขึ้น

ทำได้เองหมด มันดีแน่นอน แต่อันใหนที่มีปัญหา มันก็ต้องหาที่จ่ายให้ถูกคน  (There's no such thing as a free lunch  http://en.wikipedia.org/wiki/There_ain't_no_such_thing_as_a_free_lunch )
หวังว่าคงจะมีประโยชน์บ้าง
ปล เท่าทีทราบ ดูเหมือนมีอีกคน ทีทำเฉพาะ hardware บอร์ดและ software   ของตู้ temp control ขายเป็นประจำ แต่ไม่แน่ใจว่า เขาจะมีเวลาหรือจะรับทำหรือเปล่า
#3
Quoteดูเหมือนลดลงไม่มาก แต่ที่จับจากความรู้สึกของตัวเอง รู้สึกมันเย็นสบายขึ้น พอสมควรครับ
อาจจะเป็นเพราะอากาศมีการถ่ายเทมากขึ้น เราเลยหายใจได้สะดวกขึ้น
โดยเฉพาะตรงใกล้ๆ หน้าต่าง จะรู้สึกเลยว่ามีลมเย็นเข้ามา...
ที่รู้สึกเช่นนั้นก็ถูกต้องแล้ว ว่าพอมีลมพัด( พัดลมที่ตั้ง thermostat control ใว้ ) ทำให้รู้สึกสบาย แม้ว่า อากาศรอบตัวจะลดลงไปแค่ 1 องศา
คำอธิบายเรื่องนี้ เป็นเรื่องที่เขาเรียกว่า Wind chill ( factor )

http://en.wikipedia.org/wiki/Wind_chill

มันเป็นปรากฎการทาง physiology ( สรีรวิทยา- ศาสตร์ที่เกี่ยวกับการทำงาน การตอบสนองของร่างกาย
วิชานี้เป็นวิชาพื้นฐานที่เขาสอนใน รร แพทย์ หรือพวกสายวิทย์ชีว..)

ใน ตปท เวลาเขาประกาศอุณหภูมิประจำวัน เขาจะบอกว่า แต่ละวันอากาศอุณหภูมิเท่าไร และ ร่างกายจะรู้สึกเท่าไร

เจ้าตัวหลังนี่แหละ ที่คือความรู้สึกของร่างกายอันเนื่องมาจากแรงลมพัด ที่เขาเรียก wind chill factor
เขาจะมีตารางให้เปรียบเที่ยบดูว่า ความเร็วลมเท่าไร จะทำให้เรารู้สึกว่า "ร่างกายเรารู้สึกเย็นเท่าไร"

พื้นฐานของมันมาจากความจริงว่า ( สรีรวิทยา ) ร่างกายจะเสียความร้อนโดย
๑ การแผ่รังสีความร้อนออกไป( Radiation)
๒ โดยการพาความร้อนออกไป ( convection )
๓ โดยการระเหย ( Evaporation )
๔ โดยการนำออกไป ( Conduction )

นอกจากนี้ อัตราการเสียความร้อนของร่างกายออกโดยการพาออกไป (convection ) ไปยังขึ้นกับความเร็วลมที่พัดผ่านตัวเรา

ร่างกายตัวเรามีอุณหภูมิราวๆ 38 C  รอบตัวเราอย่างบ้านเรา ร้อนคิดว่า ราว 30+ ดังนั้นจะมีแถบขั้นระหว่างอุณหภูมิรอบตัวเรากับอากาศรอบๆกั้นรอบๆอยู่  หากเราทำลายแถบอุณหภูมิระหว่างตัวเรากับอุณหภูมิรอบตัวเสีย เป็นการเปิดโอกาศให้ลมที่เย็นกว่าร่างกายเข้ามาใหม่ ก็จะมีการถ่ายเทเอาลมเย็นใหม่เข้ามาปะทะ( ประกบ ) กับร่างกาย ยิ่งลมยิ่งแรงหรือเร็ว อุณหภูมิรอบผิวตัวเรา ก็จะเย็นเร็วขึ้นด้วย

ดังนั้นจากคำอธิบายข้างบน หากตัวเราเปียก ไปโดนลมเข้า ก็จะรู้สึกเย็นสบายขึ้น

หวังว่าคำอธิบายคงจะเข้ากับที่เขียนมาว่า รู้สึกสบายขึ้น แม้อุณหภูมิจะลดลงไปแค่ 1 องศา
ก็ด้วยคำอธิบายข้างบน แปลว่า แม้ Electronics จะทำงานลดได้แค่ 1 องศา....
แต่.... ร่างกายเรามันทำงานให้เราได้ดีกว่า electronics ( เฉพาะในกรณีที่ จขกท เล่ามาเท่านั้น)

เพราะหากร้อนมาก เราก็คงต้องวิ่งเข้าหาห้องแอร์( พึ่ง electronics )  เพราะลมมันลดอุณหภูมิร่างกายไม่พอในหน้าร้อนจัดๆ

หวังว่าข้อมูลพอจะทำให้เข้าใจดีขึ้นและมีประโยชน์บ้าง

ปล ความรู้เพิ่มอีกนิด ก็คือว่า ปรากฎการณ์ อันนี ในสารหรือวัตถุที่มีชีวิต กับไม่มีชีวิต จะตอบสนองต่างกันกล่าวคือ
ในสิ่งไม่มีชีวิต ไม่ว่าจะลมจะพัดแรงแค่ใหน อุณหภูมิของมันจะไม่ต่ำกว่าอุณหภูมิสิ่งแวดล้อม
แต่....... ในสิ่งมีชีวิต ร่างกายจะตอบสนองต่างออกไป จะมีการปรับของร่างกายตามระบบสรีรวิทยาของร่างกาย
ยกตัวอย่าง ร่างกายจะปรับเพื่อให้อยู่รอด จนในบางกรณีจะทำให้นิ้วมือนิ้วเท้า เน่าไปเลย ( frostbite ) หรือ
จนร่างกายเย็นลงต่ำกว่าอุณหภูมิรอบตัว ( hypothermia )

#4
จะว่าตามประเด็นที่ จขกท ว่ามา คือ ตอนนี้ ได้เปลี่ยนไปใช้ MCP3424 แล้ว
ติดตรง Vref, ก็ลองไปอ่านใน datasheet ดูให้ดีอีกที

datasheet บอกว่า เขามี "On-board Voltage Ref ( Vref)
ฉนั้น ข้างในนั้น เขาอ้างถึงแค่ +/- 2.048 V ฉนั้นย่านการอ่านมันก็คือ จากย่านลบ ไปจนถึงย่านบวก

แนะว่า
๑ ให้ต่อ chip ( มันไม่ใช่ DIP ) ก็คงต้องลงพิเศษหน่อย เดาว่าต้องลงเขื่อมเองกระมัง ก็ถือว่าคงทำได้แล้วนะ ต่อแบบทั่่วไปคือ ให้ไฟเลี้ยงและ ground
๒ เดาว่า คงใช้ I2C เป็นแล้ว บอกมาว่า ใช้ arduino ก็น่าจะใช้ได้ไม่ยากนัก
๓ แนะว่าให้ใช้ 16 bit mode ก่อนอย่าไปเริ่มใช้ 18 bits เพื่อความสดวก จะได้กำหนด data type เป็น unsigned
จะได้ไม่ล้น ขืนไปใช้ 18 bit ก็จะต้อง ทด ต้องย้าย byte กันให้วุ่นวาย ใช้ 16 bit มันพอทำได้สดวกง่ายขึ้นมาระดับหนึ่ง
พอได้ค่า 16 bits ถูกต้อง แปร อ่านเป็นกรัมได้ถูกต้อง อยากจะเพิ่มเป็น 18 bits ก็ค่อยมาว่ากัน เอาให้ง่ายใว้ก่อน
๔ การคำนวน อย่างที่ว่า chip มันอ่านค่ามาให้ ( แนะนำว่า ให้ใช้ 16 bit ละเอีอดถมเถแล้ว) ซึ่งตรงกับย่าน จาก -2.048 ไปจนถึง ย่าน +2.048
ฉนั้น  2^16 ADC  == 4.048 volt หรือ
ค่า 1 ADC == 4048 * 10^3 / 2^16 == 62.5 uV /ADC  ( สังเกตว่า เป็น microVolt นะ)

ยิ่งใช้ Arduino ก็ไม่น่าจะยากแล้ว
แค่นี้ ......คงจะพอทำให้ไปเริ่มได้แล้ว

หวังว่าพอจะมีประโยชน์บ้าง
#5
Quote from: JK-FlipFlop on December 19, 2013, 03:26:01 PM

- กรณีที่จะ Tap ใ้ห้ไปสองทาง เช่น เข้าที่ Temp Control ทางนึง เอามาเข้า ไมโคร ทางนึง ให้เอาสาย ต่อออกจาก TC
แล้วแยกออกมาสองทาง โดยไม่ควรเอาไปเข้า Temp Control ก่อน จากนั้น ค่อยจั๊มจาก Temp Control มา Arduino ถ้าทำแบบนี้ ไม่ได้ครับ

คุณ JK Flip-Flop รบกวน ช่วยเขียนรูปให้ดูหน่อย อ่านคำบรรยายโวหารของคุณแล้ว ยังงง ครับ
ขอบคุณ
#6
ลองเขียนเป็น pseudo-code  ออกมาดูซิครับ
( เหมือนเขียนรำพึง ==ร่ายยาว ออกมาให้กะตนเองอะครับว่าตั้งใจจะทำยังไง )
เช่นว่า
๑ อ่านค่า ออกมาเก็บ
๒ อ่านค่าจาก ขาต่อไป เอามาเก็บ
...
ครบ ห้าขา ก็เขียนลง SD หรือ จะเอาฐานข้อมูล..
ฯลฯ
พอได้อย่างที่ว่า ได้ลำดับขั้นตอนแล้ว ก็เริ่มลุย code เองเลย

คิดว่า ไม่่น่าจะยาก ทำได้เองแล้ว.... เวลาได้ผลที่ทำได้เองแล้วมันชื่นใจกว่า
สามารถยืนยิดอกได้ แล้วรำพึงกับตนเองต่อว่า "เอ.. กรูทำเอง( เขียนเอง) ก็ได้นี่หว่า ไม่ต้องไปยืมจมูกคนอื่นหายใจ"
ที่ว่าเช่นนี้  เพราะ คิดว่าที่ถามมา คุณมีคำตอบให้เองได้แทบจะหมดแล้วละ

ลองลุยไปก่อนทำตาม pseudocode แบบที่ว่ามาข้างบน
ติดแล้วค่อยมาถามใหม่ ( แต่คิดว่า หากลงลุยเอง น่าจะผ่านฉลุยแล้วละ)

ปล ถามเรื่องเดียวๆกัน ไม่ต้องไป post ให้มันเลอะเทอะกระดาน ตั้งหลายแห่งครับ
พวกพี่เขาจะได้เข้ามาอ่านที่ๆเดียว และจะได้ช่วย"รุม"ตอบให้ที่เดียวเลย
#7
Quote from: skytec on November 23, 2013, 09:48:39 PM
void loop() {
  // read the value from the sensor:
  sensorValue0 =analogRead(sensorPin0);
  delay(10);
  sensorValue1 =analogRead(sensorPin1); 
   delay(10);
  sensorValue2 =analogRead(sensorPin2);
  delay(10); 
  sensorValue3 =analogRead(sensorPin3);
   delay(10);
  sensorValue4 =analogRead(sensorPin4);   
// analysis...

               
จขกท กล่าวในกระทู้ว่า "จะรับค่ามาพร้อมกันทั้ง 5 ขา" นี้
อยากทราบว่า ที่ว่าพร้อมกันนี ........ ต้องการเวลาที่อ่านแต่ละค่าเข้ามา ที่มันวิกฤตขนาดใหน
กล่าวคือ ต้องให้มัน "พร้อม" กันแค่ใหน
ไกล้กัน( หรือว่าอีกแบบ ห่างกันแค่ ) ระดับไม่กี่ milliSecond ใหวป่าว ????

เพราะ ใน Atmel นั้น เท่าที่ไปดูใน datasheet ของไม่ว่า Attiny or Atmeag ( AVR ) นั้น
แนะว่า ความเร็วของ clock ที่ใช้ใน ADC นี้ ตกประมาณ 50-200K Hz
( สำหรับค่าความละเอียดที่ 10 บิท )

จาก datasheet พบว่า conversion time จะใช้ประมาณ( คร่าวๆ ) 
ระหว่าง 13.5 ถึง 25 clock cycles ( เราจะใช้ค่าเฉลี่ยๆให้ง่ายๆก็แล้วกัน คือ 20 cycles)
ฉนั้นใน 1 sec  สามารถทำได้ ~ 200K / 20 == ~ 10K conversions
หรือ คิดอีกแบบ 1 mS จะได้ตั้ง 10 conversions
( อย่าลืมว่า อันนี้ เราเอาจากสภาพที่แย่ == นานที่สุดแล้วโดยใช้ 20 clock cycles)

ดังนั้นคิดว่า หากเวลาการอ่านค่าจาก source ไม่วิกฤตมากนัก ตามความเห็นผมก็คิดว่า
code ที่ให้มาข้างบน.......

๑ น่าจะทัน ( ทั้งนี้และทั้งนั้น ขึ้นกับว่า จขกท ต้องการเวลาที่วิกฤตแค่ใหน )
๒ การ delay ในระหว่างแต่ละ conversion ตามใน code ไม่จำเป็นต้องนานถึงขนาด 10 ms
เพื่อให้ระยะความห่างในการอ่านแต่ละครั้งให้มันไกล้กันที่สุด ตามที่คิดเวลาให้ดูข้างบน

หวังว่าคงมีประโยชน์บ้าง

#8
Projects / Re: CUBE LED 8x8x8
November 16, 2013, 11:43:30 AM
Very nice!!!!!!!!!