Show Posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - tatree_b

Pages: 1 2 [3] 4 5 ... 23
17
Signal Analysis - Time, Frequency, Scale and Structure  2004   Wiley   3.6MB

Ronald L. Allen
Duncan W. Mills


http://dsp-book.narod.ru/SATFSS1.pdf

18
    แต่ละเครื่ิองต่างกันเยอะไหม
    ผมวัดหลอดไฟแบบไส้ธรรมดา 100 วัตต์ของฟิลิปส์ ประสิทธิผล 14ลูเมนส์ต่อวัตต์ (สกรีนบอกไว้บนตัวหลอด) วัดที่ระยะ 1 เมตรจากส่วนบนของโคมหลอดถึงเซนเซอร์ลักซ์มีเตอร์ อ่านค่าได้ประมาณ 298 ลักซ์ จากลักซ์มีเตอร์ 2 ตัว ลองเอามาอ้างอิงดูนะครับ
    ลักซ์มีเตอร์ราคาถูกส่วนใหญ่จะวัดแม่นจากแสงเทียน เปลวไฟ หลอดไส้หรือแสงอาทิตย์  แต่วัดพวกหลอดแอลอีดี HID  ฟลูออเรสเซนต์ ไม่ค่อยแม่น

19
หลอดไม่ร้อนเท่าไหร่ ที่จะร้อนมักจะเป็นตัวต้านทานจำกัดกระแสตัวเล็กๆ ดำๆ  ประมาณ 50-60 องศาซี





20
https://www.jib.co.th/web/index.php/product/readProduct/20332/36/WEBCAM-LOGITECH-QCAM-C920-HD-PRO

4,300 ราคานี้สำหรับเวปแคมผมว่าแพงไปมากครับ :)

รุ่นโปรน่าจะใช้เลนส์คาร์ลไซ้ล์ส และเลนส์มุมกว้าง ผมมีรุ่นเก่ากว่านี้ Quickcam Pro9000  ราคาก็เกือบสี่พันเหมือนกัน
http://checkprice.net/price_list/BfF56oPruUY.html

21
ลองแยกตัวแหล่งจ่ายสวิทชิ่งออกมา หรือไม่ก็ใช้ไฟดีซีจากอะแดปเตอร์ลิเนียร์ไปก่อนเพื่อเลี่ยงการรบกวน ถ้าระบบมันเสภียรก็ค่อยเอากลับแล้วฟิลเตอร์ให้ดี อาจจะลดปัญหารีเซ็ทเองได้

22
ทำงานเกี่ยวกับวิศวกรรม โดยเฉพาะเครื่องมือวัดจะต้องเข้าใจพื้นฐานทางด้านสถิติด้วย 
อย่างแรกค่าที่ได้การวัดมักจะไม่นิ่งเป็นธรรมชาติปกติ เพราะมันมีค่าแปรปรวน หรือ Variance จากการรบกวนต่างๆ จึงจำเป็นต้องมีการวัดซ้ำ(หลายครั้งด้วย) และการที่เลขไม่นิ่งจะเกิดจากองค์ประกอบที่เครื่องมิอวัด กับวิธีการวัด (เช่น คนวัด เป็นต้น) แต่เครื่องมือไฟฟ้ามักจะเน้นไปที่ตัวเครื่องมือมากกว่าวิธีการวัด  แต่ถ้าวัดแล้วค่าออกมาตรงเป๊ะเท่าเดิมตลอดแปลว่าเครื่องมือวัดนั้น อาจมีค่านัยสำคัญไม่เหมาะกับงาน เช่น มิเตอร์ มันขึ้นหลักละ 100 โวลต์ เวลาวัดไฟบ้านมันโชว์ 200 โวลต์ตลอดแปลว่าเลขนัยสำคัญไม่เหมาะกับงานแล้ว

ลองศึกษาเรื่อง Gauge capability เป็นเบื้องต้นก่อน
www.stat.purdue.edu/~kuczek/stat513/Gage%20R&R.pptx 

อีกกรณีคือการแกว่งไกวที่ไม่ได้เกิดจากธรรมชาติ แต่มีสิ่งเร้าเข้ามากระตุ้น เช่น thermal drift , resonance ,....  พวกนี้ค่าเปลี่ยนแปลงมักจะเห็นเป็นเส้นแนวโน้ม (trend line)  ก็ต้องแก้ตามอาการ ส่วนใหญ่ถ้าไม่ทำแด้มป์ปิ้งก็ใช้ระบบป้อนกลับชดเชย

การทำให้เลขนิ่งได้มีหลายวิธี เช่น sampling and hold , average , moving average , cusum  แต่ถ้าไม่เข้าใจเรืองขีดความสามารถการวัด เทคนิคแก้ปัญหาเหล่านี้มันก็ไม่ทำให้การวัดมีความน่าเชื่อถือ


23
ดเูขาทดสอบที่นี่ก่อน ละเอียดดี
http://lygte-info.dk/review/Power%20Mains%20to%205V%200.6A%20Hi-Link%20HLK-PM01%20UK.html

Conclusion

This module looks good, I did not find any problems with it.

A few notes for using it:
Electronic wears down faster when warm, especially capacitors, i.e. keep it as cool as possible for long lifetime.
I would place a fuse or fusible resistor before the converter, the fuse is not supposed to be replaceable, when it blows it is time to replace the converter.
A MOV accross the mains input would probably also be a good idea.

1. วงจรจะสึกเร็วเมื่อร้อนพอประมาณโดยเฉพาะตัวเก็บประจุ จึงควรไว้ในที่ที่เย็นที่สุดเพื่อยืดอายุการใช้งาน
2. ถ้าฟิวส์ขาดก็ควรเปลี่ยนทั้งตัวอะแด้ปเตอร์เลย ไม่ควรเปลี่ยนแค่ฟิวส์
3. ควรเพิ่มตัว MOV เข้ามาที่อินพุท

24
เคยสั่ง NX-887 สั่งแล้ว โอนตังค์แล้ว เขาตอบกลับมาว่าของหมดกำลังผลิตเพิ่ม ก็รออีกหน่อยนึง แต่ก็ไม่มีปัญหาเรื่องอื่น

Pages: 1 2 [3] 4 5 ... 23