Linux ใน ubantu กับ R pi เหมือนกันไหม ?

Started by ROM, May 06, 2013, 11:29:52 AM

Previous topic - Next topic

ROM

เพิ่งหัดเล่น กำลังคิดจะศึกษา Linux และ สนใจตัว R-pi แต่ยังไม่ต้องการไปลงลึกด้าน Hardware นะครับ
ก็เลยจะขอถามสำหรับผู้ที่เคยใช้ทั้ง linux( ubantu ) และ R-Pi ว่ามันแตกต่างกันยังไงในด้านคำสั่งและการใช้งาน
เลยคิดว่าจะลองทดสอบกับพวก ubantu บน PC ก่อน แต่สงสัยว่าคำสั่งมันจะเหมือนกันหรือต่างกันเยอะไหมครับ ?
การติดตั้งโปรแกรมต่างๆระหว่าง ubantu กับ R-Pi คล้ายมากกันไหมครับ ?
การ compile ภาษา C/C++(หรืออื่นๆ) เหมือนกันหรือเปล่าครับ ?
ตอนนี้เพิ่งเริ่มต้นก็เลยอยากได้ข้อมูลในการตัดสินใจ ก่อนไปที่ R-Pi ครับ
อีกอย่างคิดว่าการทดสอบคำสั่งการทำงานกับ PC น่าจะเร็วกว่า R-Pi

samira

ไปตรวจสอบดูพบว่า ทั้ง "Ubuntu Linux" และ Raspberry Pi ( RPi)  "Wheezy Linux" นั้น มาจากต้นตอเดียวกัน คือ Debian
ดังนั้นการใช้ ไม่น่าจะต่างกัน แต่รายละเอียด เช่น module หรือรายละเอียดของ Apps ที่ให้มา ( แต่มีอยู่ในโกดัง == repository ของทั้งคู่ ) อาจจะไมเหมือนกันเลยทีเดียว เช่น App อันหนึ่งอาจจะมีให้มาใน Ubuntu แต่อาจจะไม่ให้มาใน Wheezy

ยกตัวอย่างให้เห็นชัดๆ ที่แปลกใจผู้เขียนมาก เช่น Node.js นี้ มีให้มา"เลย" ใน BeagleBone Black Linux ( ซึ่งมีต้นตอมาจาก Angstrom) แต่ใน Ubuntu or Wheezy ไม่ได้ให้มาเลย ( แต่สามารถติดตั้งเองทีหลังได้)

ข้อแตกต่างอีกอันคือ Wheezy นั้น ออกมาใช้กับพวก Embedded machine ดังนั้น มันจะเป็นรุ่นเล็ก รุ่นจิ๋ว ส่วน Ubuntu นั้น เป็นรุ่นสำหรับ Hardware ที่ครบ ( รุ่นใหญ่ ) ไม่มีข้อจำกัดในเรื่อง Rom/Ram/drive

ดังนั้น ในคำถามเรื่องการใช้ "ไม่น่าจะต่างกัน"

ขอถามหน่อยจาก กระทู้ที่ถามมา ว่า "คิดจะศึกษา" Linux และ จะยังไม่ลงลึกเรื่อง Hardware ก็เลยไม่เข้าใจว่า แล้วจะมาใช้ RPi ทำไม เพราะที่เขาให้มา มันไม่ครบเต็ม ( แต่ไม่ใช่ว่า จะใช้สำหรับ ศึกษาไม่ได้ จริงๆ  R Pi เขาให้มาสำหรับเป็นอุปกรณ์ศึกษา ในราคาถูก )

อยากจะศึกษา Linux มี PC อยู่แล้ว ก็สมบูรณ์อยู่แล้ว ใช้ศึกษาได้ครบเลย

ครับ การทำงานบน RPi ช้าหน่อย ยกตัวอย่าง การ browse net ต่างๆ ช้าหน่อย (ขนาด ความเร็วของ network เร็วมากแล้วก็ตาม)

หากจะยกตัวอย่างให้เห็นค่อนข้างชัดเจน บน BeagleBone Black ( http://beagleboard.org/Products/BeagleBone%20Black) นั้น การ browse web ต่างๆ เห็นได้ชัดว่าเร็วกว่า RPi ซึ่งพอจะสังเกตุหรือบอกได้ "ว่าเร็วกว่า"   

หวังว่า คงมีประโยชน์บ้าง
" If you're born poor, it's not your mistake. But if you die poor, it's your mistake"
Bill Gates.

pa_ul

ถามมาว่า "... linux( ubantu ) และ R-Pi ว่ามันแตกต่างกันยังไงในด้านคำสั่งและการใช้งาน ..." อ่านแล้วออกจะงงๆ อยู่เหมือนกัน เพราะ Linux เป็น OS ส่วน R-Pi เป็น hardware ซึ่งจะสามารถใช้ OS อะไรก็ได้ (ถ้ามีคนเขียนขึ้นมาสำหรับมัน) ก็เลยไม่รู้จะเปรียบเทียบยังไงเหมือนกัน

ถ้าเอา Ubuntu (อย่าง Whizzy) ไปใส่ใน R-pi มันก็คือ Ubuntu ดังนั้นคำสั่งต่างๆ ที่เกี่ยวกับการใช้ OS ก็จะเหมือนกับ Ubuntu บน PC

แต่ถ้าหมายถึง Application นั่นก็เป็นอีกเรีื่องหนึ่ง ขึ้นกับว่าได้ติดตั้ง application อะไรลงไปในตัวมันบ้าง ซึ่งแน่นอนว่าด้วยข้อจำกัดของ HW ที่มีอยู่บน R-pi อาจจะทำให้ Application บางตัวไม่สามารถใช้งานได้ ซึงในทางกลับกัน Application หลายๆตัวที่ทำงานบน R-pi ได้ก็อาจจะใช้ไม่ได้กับ PC ที่ติดตั้ง Ubuntu เช่นกัน


ROM

ขอบคุณมากครับทั้ง ท่าน samira และท่าน pa_ul

Quoteขอถามหน่อยจาก กระทู้ที่ถามมา ว่า "คิดจะศึกษา" Linux และ จะยังไม่ลงลึกเรื่อง Hardware ก็เลยไม่เข้าใจว่า แล้วจะมาใช้ RPi ทำไม เพราะที่เขาให้มา มันไม่ครบเต็ม ( แต่ไม่ใช่ว่า จะใช้สำหรับ ศึกษาไม่ได้ จริงๆ  R Pi เขาให้มาสำหรับเป็นอุปกรณ์ศึกษา ในราคาถูก )

คือ มี PC อยู่แล้วครับ แล้วคิดว่าจะลองใช้คำสั่ง linux อย่างubantu น่าจะง่ายกว่าและคล่องตัวกว่า(ที่สำคัญน่าจะเร็วกว่าอย่างที่ท่านกล่าวไว้) เมื่อคล่องแล้วค่อยใช้คำสั่งแบบเดียวกันเพื่อนำ R-Pi มาใช้แทน PC และในอนาคตอาจเขียนโปรแกรมไปลงลึกกับ Hardware อย่างR-Pi อีกที (สรุปคือต้องการเรียนรู้คำสั่งของ Linux ของ PC เพื่อไปยัง embedded PC อีกทีครับ)


Quoteถามมาว่า "... linux( ubantu ) และ R-Pi ว่ามันแตกต่างกันยังไงในด้านคำสั่งและการใช้งาน ..." อ่านแล้วออกจะงงๆ อยู่เหมือนกัน เพราะ Linux เป็น OS ส่วน R-Pi เป็น hardware ซึ่งจะสามารถใช้ OS อะไรก็ได้ (ถ้ามีคนเขียนขึ้นมาสำหรับมัน) ก็เลยไม่รู้จะเปรียบเทียบยังไงเหมือนกัน

คงต้องขออภัยจริงๆ เนื่องจากตอนแรกไม่ทราบว่า R-Pi มี OS ชื่ออะไรบ้าง ก็เลยใช้คำ R-Pi เป็นการสื่อสารออกไป ตอนนี้ทราบแล้วครับว่าชื่อ Wheezy Linux

Short Circuit

ตอนผมยังไม่มีบอร์ด raspberry pi เล่น ผมลองเล่นใน  Raspberry Pi emulation for Windows ก็พอได้ความรู้คำสั่งคร่าวๆ
กับการทำงานของมัน พอทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้นสำหรับผม  ลองโหลดมาเล่นดูก่อนก็ได้ครับ
http://sourceforge.net/projects/rpiqemuwindows/

deaware

คำถามที่ว่าถ้าจะเริ่มเล่น Linux จะเริ่มยังไงเริ่มจากไหน
- ถ้าจะเริ่มเล่นแนะนำว่าให้หาจุดหมายก่อนครับ ว่าทำไมถึงอยากเล่น Linux ไม่งั้นอาจจะท้อใจเลิกเล่นไปกลางทาง
การเล่นบน Embedded Board มีข้อดีตรงที่ว่าจะมองเห็นภาพง่ายกว่า และมีฮาร์ดแวร์ออกมาให้เห็นมากกว่าครับ
นอกจากนั้นเราจะเข้าใจโครงสร้างการทำงานของ Linux ที่ลึกเนื่องจากเราสามารถปรับแต่งได้ง่ายกว่า PC ครับ

  การเริ่มต้นตั้งแต่พื้นฐาน เช่น command line, kernel, root file system Ubuntu บน PC ก็ตอบโจทย์ตรงนี้ได้ครับ
ทุกวันนี้บางครั้งผมยังต้องเขียนไดรเวอร์สำหรับ Ubuntu อยู่ วิธีการก็ไม่แตกต่างจากบน Embedded มากครับ

ถ้าได้จุดหมายแล้วค่อยถามตัวเองครับว่ายังต้องการทำบนบอร์ด Embedded หรือไม่ครับ เพราะถ้าอยากแค่เล่น Linux
ไม่จำเป็นต้องเล่นบน Embedded System ก็ได้ครับ ^^










Blog ด้าน Embedded System และจัดอบรม www.deaware.com/blog

ROM

ขอขอบคุณทุกๆท่านเป็นอย่างมากครับ

Quote from: deaware on May 08, 2013, 11:28:13 PM
คำถามที่ว่าถ้าจะเริ่มเล่น Linux จะเริ่มยังไงเริ่มจากไหน
- ถ้าจะเริ่มเล่นแนะนำว่าให้หาจุดหมายก่อนครับ ว่าทำไมถึงอยากเล่น Linux ไม่งั้นอาจจะท้อใจเลิกเล่นไปกลางทาง
การเล่นบน Embedded Board มีข้อดีตรงที่ว่าจะมองเห็นภาพง่ายกว่า และมีฮาร์ดแวร์ออกมาให้เห็นมากกว่าครับ
นอกจากนั้นเราจะเข้าใจโครงสร้างการทำงานของ Linux ที่ลึกเนื่องจากเราสามารถปรับแต่งได้ง่ายกว่า PC ครับ

  การเริ่มต้นตั้งแต่พื้นฐาน เช่น command line, kernel, root file system Ubuntu บน PC ก็ตอบโจทย์ตรงนี้ได้ครับ
ทุกวันนี้บางครั้งผมยังต้องเขียนไดรเวอร์สำหรับ Ubuntu อยู่ วิธีการก็ไม่แตกต่างจากบน Embedded มากครับ

ถ้าได้จุดหมายแล้วค่อยถามตัวเองครับว่ายังต้องการทำบนบอร์ด Embedded หรือไม่ครับ เพราะถ้าอยากแค่เล่น Linux
ไม่จำเป็นต้องเล่นบน Embedded System ก็ได้ครับ ^^

จุดหมายของคำถามนี้ในเรื่องการใช้ Linux นั้นมีอยู่แล้วครับ แต่พยายามทำให้มันง่ายก่อนที่จะไปจับกับ embedded pc ครับ
(ซึ่งสุดท้ายอาจไม่ใช่ R-pi ก็ได้นะ ตอนนี้เห็นออกมามีหลายเจ้าซะเยอะเลย)
และคงไม่ถึงกับไปทำ Board Embedded pc เองนะครับ (จุดประสงค์เบื้องต้นคือแค่เรียนรู้และควบคุมมันได้อย่างถูกต้องครับ)
จึงคิดว่า หากศึกษาจาก Ubantu น่าจะพัฒนาง่ายกว่าและดีกว่าในหลายๆเรื่อง (แล้วค่อยไปย่อยใน Embedded PC อย่าง R-Pi อีกที)

14degree

คุณ Deaware เขียน driver ของ hardware ประเภทไหนอยู่ครับ ฟังดูน่าสนใจ