รวมหัวข้อ Libraries สำหรับ Eagle

Started by Admin, June 27, 2016, 01:44:13 PM

Previous topic - Next topic

Admin

ปกติแล้วตัวต้านทานที่เราใช้งานทั่วไป จะใช้อยู่ 2 แบบคือ Through Hole Resistor และ SMT โดยแบบ Through Hole Resistor ปกติใช้ชนิด Carbon film ธรรมดา ที่มีขายที่ ES จะมี 5 ชนิด 1/2W, 1/4W, 1/8W, 1W and 2W ในงานอิเลคทรอนิคส์ทั่วไปก็ใช้แค่ 1/4W, 1/8W ถ้าไม่ใช่งานเครื่องเสียง การหา Library ใน Eagle ก็ search (เมนู Edit -> Add) "resistor" ไปเลย ซึ่งจะขึ้นมาเยอะมาก แล้วเลือกตัวที่เป็น AXIAL-0.3 AXIAL-0.4 หรือจะใช้ Library ของ Sparkfun ค้นคำว่า "RESISTORPTH-*" อันนี้จะใช้งานง่ายหน่อย





รับทำ PCB (ออกใบกำกับภาษีได้) => https://www.electoday.com

Admin

ตัวต้านทานอีกรูปแบบหนึ่งที่นิยมใช้กันคือ SMD Resistor ที่ ES มาขาย ขั้นต่ำ 10 ตัว ซึ่งโดยปกติจะใช้ขนาด 0603, 0805 และ 1206 ตัวเลข 0805 (0.08 inch X 0.05 inch) คือ ความยาว 80 mil 80/1,000 inch (80 ในส่วน 1,000 ของนิ้ว) , ความกว้าง 50 mil 50/1,000 inch ปกติอุปกรณ์ electronics จะใช้หน่วย mil (1 mil = 1/1,000 inch)
Library ใน Eagle ของ SMD Resister
0805 = *0805-RES*
0603 = *0603-RES*
1206 = Resister*1206*





รับทำ PCB (ออกใบกำกับภาษีได้) => https://www.electoday.com

Admin

Ceramic Capacitor (เช่น 15pF, 18pF, 22pF) เป็นตัวเก็บประจุแบบไม่มีขั้ว ใช้ต่อกับวงจร Crystal Oscillator เพื่อทำหน้าที่ bypass สัญญาณรบกวน จะมีความห่างของขาประมาณ 100 mil ส่วนค่า 0.1uF ที่เรานิยมต่อไว้ใกล้ MCU ระหว่างขา VCC กับ GND ซึ่งทำหน้าที่ bypass สัญญาณรบกวนเช่นกัน จะมีความห่างของขาประมาณ 200 mil

ส่วนตัวเก็บประจุประเภท Electrolytic Capacitor เป็นตัวเก็บประจุแบบมีขั้ว ปกติที่เราใช้งานจะเป็นขนาดความจุประมาณ 1uF, 10uF, 33uF, 47uF, 100uF ถ้าขนาดทนแรงดันสูงสุดที่โวลต์ต่ำๆ จะมีความห่างของขาประมาณ 100 mil แต่ถ้าขนาดทนแรงดันสูงสุดที่โวลต์สูง ก็จะมีความห่างของขาประมาณ 200 mil ขึ้นไป ส่วนตัวเก็บประจุที่มีขนาดความจุมากกว่า 100uF ส่วนใหญ่จะมีความห่างของขาประมาณ 200 mil ขึ้นไป แต่รายละเอียดให้ดูที่ Datasheet ของตัวเก็บประจุนั้นอีกทีหรือจะทำการวัดระยะห่างของขาด้วยตัวเราเองก็ได้

สำหรับการค้นหา Library ใน Eagle ให้ลองค้น *CAPPTH* กับ *CAP_POL* แล้วคลิกเลือกที่ Library แต่ละตัวเลือกเอาตัวที่มีระยะห่างของขาเท่ากับตัวเก็บประจุที่เราต้องการ (วงกลมสีแดง)













รับทำ PCB (ออกใบกำกับภาษีได้) => https://www.electoday.com


Admin

สำหรับตัวเก็บประจุแบบ Chip หรือ SMD มีทั้งขนาดเล็กแบบไม่มีขั้ว (Non Polarized) และแบบมีขั่ว (Polarized) ซึ่งมีค่าความจุมากขึ้น ก็จะมีขนาด footprint เหมือนตัวต้านทานแบบ Chip คือ 0402, 0603, 0805, 1206, และ 1210 ให้เราเลือกใช้ ตามลำดับ

ใน Library ของ Eagle ถ้าเป็น Chip แบบไม่มีขั้ว (Non Polarized) ให้ลองค้นหา *CAP*0805* และ *CAP*0603* ส่วนพวกแบบมีขั่ว (Polarized) จะมีขนาดที่ใหญ่ขึ้น ให้ค้นหา *CAP*1206* หรือ *CAP*1210* แล้วเลือกที่เหมาะสมกับตัวเก็บประจุแบบ Chip ที่เราเลือกใช้งาน

ส่วน Electrolytic Capacitor แบบมีขั่ว (Polarized) ที่เป็น Package/Case แบบ SMD จะมีฐานเป็นทรงเหลี่ยมแล้วมีกระบอกทรงกลมอยู่ด้านบน โดยมีขายื่นออกมาในลักษณะแบนราบที่ด้านล่างของฐาน ตัว Library ของ Eagle ให้ลองค้นหา *CAP*POL* แล้วคลิกเลือกดูที่ List CAP_POLC, CAP_POLD, CAP_POLE และ CAP_POLG เลือกตัวที่มีขนาด footprint เข้ากันกับอุปกรณ์เรา



















รับทำ PCB (ออกใบกำกับภาษีได้) => https://www.electoday.com

Admin

ส่วนไดโอดแบบ Through-hole ที่เราใช้งานตามปกติจะมี Package อยู่ไม่กี่แบบ เช่น DO-35, DO-41, DO-15 และ DO-201 ให้ดูที่ datasheet ของไดโอดที่เราเลือกใช้งาน เวลาค้นหาใน Library ของ Eagle ให้ลองทั้ง *DO-41* และ *DO41* แล้วเลือกเอาตัวที่เราต้องการ

ส่วนทรานซิสเตอร์ (Transistor) ที่เราใช้กัน จะมี Package แบบ TO-92, TO-126, TO-220, TO-264, หรือ TO-3 และอื่นๆ อีก การค้นหา Library ใน Eagle ก็ใช้คีย์เวิร์ด เช่น *TO-92* หรือ * TO92* หรือที่ง่ายที่สุดคือ ใส่เบอร์ทรานซิสเตอร์ที่เราใช้งานลงไปเลย เช่น BC548B แล้วเลือกเอาตัวที่มี footprint เหมาะสมกับอุปกรณ์ที่เราใช้งาน

แต่ถ้าอุปกรณ์ที่เราใช้งานหาไม่เจอใน Library ของ Eagle ก็ต้องลองค้นหาที่อินเตอร์เน็ต ดูว่ามีใครสร้างขึ้นแล้วแจกจ่ายไหม ถ้าไม่มี เราก็สร้าง Library ขึ้นมาใช้งานเอง















รับทำ PCB (ออกใบกำกับภาษีได้) => https://www.electoday.com

Admin

ไดโอดแบบ SMD จะมี package ที่เราใช้บ่อยๆ อยู่ไม่กี่แบบเช่น SOD123 , SOD323 หรือ SOD80 การค้นหา Library ใน Eagle ก็ใส่ประเภทของ package ลงไปเลย ตัวอย่าง *SOD80*, *SOD123* หรือ *SOD323* รวมทั้ง package แบบอื่น ก็ทำลักษณะคล้ายๆ กัน

ส่วนทรานซิสเตอร์แบบ SMD ที่เห็นใช้กันบ่อยก็มี package แบบ SOT23 หรือ SOT223 การค้นหา Lbrary ของ Eagle เพื่อจะได้ footprint ที่เหมาะสมกับอุปกรณ์ที่เราใช้งาน ให้ใส่ประเภทของ package ลงไป เช่น *SOT23* *SOT223* รวมถึง package ประเภทอื่นที่แปลกๆ นานนานครั้งถึงจะได้ใช้งาน เราอาจจะต้องสร้าง Library ขึ้นมาเอง















รับทำ PCB (ออกใบกำกับภาษีได้) => https://www.electoday.com

Admin

สำหรับพวก IC (Integrated Circuits) ต่างๆ ที่เราใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น package แบบ dual in-line (DIL) หรือ SMD การค้นหา Library ใน Eagle ยิ่งมีความง่าย เพียงแค่ใส่เบอร์ IC ที่เราต้องการใช้งานลงไป ตัวอย่างเช่น เราต้องการค้นหา Library ของ ATMEGA8 ซึ่งปกติในบ้านเราจะมีขายอยู่ 2 package คือ PDIP-28 และ TQFP-32 เราลองค้นหาโดยใช้คีย์เวิร์ด *MEGA8* ก็จะขึ้นมาให้เราเลือก โดยเลือกตัวที่มี footprint ที่เราใช้งานอยู่

อาจจะมีบ้างกรณี ที่ IC ที่เราใช้งาน ไม่มีใน Library ของ Eagle อาจจะเป็นเพราะ IC เบอร์นั้นพึ่งออกมาใหม่ จะให้เราใช้ Library ของเบอร์ที่ใกล้เคียงแทนไปก่อน ถ้าเรายังไม่อยากแก้ไขหรือสร้าง Library ขึ้นมาเอง แต่ให้ระวังเรื่องหน้าที่ของขา อาจจะไม่ตรงกัน 100% ถึงแม้จะ package เหมือนกัน

โดยปกติแล้ว package แบบ DIL จะมี 8, 14, 16, 20, 24, 28 และ 40 ขา จะมีความห่างระหว่างขาทั้งสองแถวประมาณ 0.3 inch แต่ถ้าบ้างเบอร์อาจจะมีความห่าง 0.6 inch ส่วนระยะห่างระหว่างขาของ package ประเภท SMD ชนิดต่างๆ นั้น ให้ดูในรูปด้านล่างประกอบ











รับทำ PCB (ออกใบกำกับภาษีได้) => https://www.electoday.com

Admin

ในการออกแบบบอร์ด เป็นไปได้อยู่แล้วที่ว่าบนบอร์ดของเราจะต้องมีพวกอุปกรณ์ Connectors ตัวอย่างเช่นในรูปด้านล่าง ลำดับเริ่มแรกถ้ายังไม่อยากสร้าง Library พวกอุปกรณ์ Connectors เอง แนะนำให้ใช้ Library ของ Sparkfun ไปก่อน ให้คลิกเลือกที่ SparkFun-Connectors.lbr ในเมนู Libraries ทางด้านซ้ายมือ แล้วนั่งไล่ดูไปเรื่อยๆ ส่วนมากจะเป็นอุปกรณ์ที่เราใช้งานเป็นประจำอยู่แล้ว ซึ่งเพียงพอต่อการใช้งานเบื้องต้น

ส่วนวิธีการตรวจสอบว่า footprint จาก Library นั้นใช้ได้กับอุปกรณ์ที่เราใช้งานจริงหรือเปล่า ก็ใช้วิธี print ลาย PCB ออกมาใส่บนกระดาษก่อน (ที่เรียกว่า Paper PCB) โดยเลือกอัตราส่วน 1:1 จากนั้นเอาอุปกรณ์หรือ IC ที่เราใช้งานทาบลงไป วิธีนี้จะลดความผิดพลาดได้เยอะ เพราะถ้าทำแผ่น PCB ออกมาจริงๆ เกิดผิดพลาด ก็จะต้องเสียเงินทำ PCB ใหม่อีก











รับทำ PCB (ออกใบกำกับภาษีได้) => https://www.electoday.com