มาแปลงไฟล์ PCB จาก Eagle ให้เป็น 3D แบบล้ำๆกันดีกว่า(ตอน 1,2,3 จบ)

Started by EasyCompiler, September 30, 2015, 11:24:53 AM

Previous topic - Next topic

EasyCompiler



สวัสดีครับ เพื่อนๆ ชาว Electoday วันนี้ผมขอนำบทความ การแปลงไฟล์ PCB จากโปรแกรม Eagle ไปเป็นไฟล์ 3D ด้วยโปรแกรม FreeCAD และ FreeCAD-PCB module ครับ

เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่อะไรนะครับ ที่จะเห็น เพื่อนวิศวกร หรือ นักพัฒนา ทั้งมือเก่า และมือใหม่ simulate PCB ไฟล์หลังจากที่ได้ออกแบบเสร็จ ให้อยู่ในรูปไฟล์ 3มิติ บ้างก็ต้องการดูลักษณะที่คล้ายงานจริง
เพื่อมองหาจุดบกพร่อง บ้างก็ทำออกมาเพื่อใช้สำหรับทำ presentation  และบ้างก็นำไฟล์ที่ได้เป็น 3D ไปออกแบบกล่อง หรือทดลองวางใน Jig หรือ Fixture ต่อไป
นี่ไม่ใช่วิธีแปลกใหม่อะไร หาข้อมูลได้ทั่วไปทางอินเตอร์เน็ต แต่เรารวบรวมวิธีการขั้นตอนมาให้เรียนรู้ ทำตามได้ง่าย ไม่ต้องลองผิดลองถูกเอา ลดเวลาในการเรียนรู้ลงครับ
เพื่อให้ท่านผู้อ่านเอาเวลาอันมีค่าไปใช้ในทำงาน หรือเรียนรู้ในเรื่องอื่นๆต่อไปครับ สำหรับบทความนี้จะขอข้ามเรื่องการ ออกแบบ PCB ไปเลยนะครับ โดยที่จะใช้ไฟล์ PCB
ที่ออกแบบเสร็จแล้วมาแนะนำทำเป็นตัวอย่างครับ

Software ที่ใช้ประกอบในบทความนี้
1) ไฟล์ PCB จาก โปรแกรม Eagle(*.brd)
2) FreeCAD Version >= 0.14 ซึ่งปัจจุบัน ณ วันที่ทำบนความนี้เป็น V 0.15  --> http://www.freecadweb.org/
3) FreeCAD-PCB  --> http://sourceforge.net/projects/eaglepcb2freecad/

สำหรับการใช้งานโปรแกรม FreeCad หาได้ทั่วไปใน YouTube หรือในเว็ปของ FreeCad เองครับ โดยที่ไฟล์ PCB ที่รองรับการนำมาใช้ทำไฟล์ 3D นี้ไม่ใช่แค่ไฟล์ *.brd
จาก โปรแกรม Eagle เพียงอย่างเดียวนะครับ แต่ยังมีอีกมากมายหลายตัวด้วยกัน ผู้อ่านศึกษาเพิ่มเติมได้จาก ไฟล์ instruction.pdf  ที่มาพร้อมกับ file ในหัวข้อที่ 3 จาก Software list ข้างบนนะครับ

ส่วนเหตุผลที่เลือกไฟล์ที่มาจาก Eagle มาใช้ทำตัวอย่างก็เพราะ eagle เป็น Free Software ที่เรียนรู้และใช้งานได้ไม่ยาก และสามารถหาข้อมูลได้มากมายจาก internet ครับ

ขั้นตอนแรกทำการติดตั้ง program FreeCAD ให้เรียบร้อย พอเสร็จแล้วยังไม่ต้องเปิดใช้งานโปรแกรมนะครับ ให้เข้าไปตรวจสอบก่อนว่ามีไฟล์ FreeCAD-PCB
ที่เราจำเป็นต้องใช้สำหรับการทำให้ไฟล์ PCB ที่เราออกแบบไว้กลายมาเป็นไฟล์ 3D หรือยัง โดยเข้าไปที่ Dive ที่ทำการติดตั้งโปรแกรม FreeCAD เอาไว้โดยปกติ
จะอยู่ที่ "C:\Program Files\FreeCAD 0.15\Mod" ให้ตรวจสอบดูว่ามี Folder ที่ชื่อว่า PCB หรือไม่ หากไม่มี ให้ไป download  file ชุดนี้มาก่อนจากตาราง Software Table ในข้อที่ 3

เมื่อ download มาแล้วจะได้ไฟล์ที่ชื่อว่า  PCB.7z ต่อมาให้ทำการ unzip ไฟล์ออกมาแล้วทำการ copy folder PCB ทั้ง Folder เลยนะครับ เอาไปไว้ที่ "C:\Program Files\FreeCAD 0.15\Mod" 
หลังจากนั้นเราจะต้องกำหนดสิทธิ์ให้กับ user เพื่อให้สามารถเขียนและอ่านไฟล์ ใน folder PCB ได้ โดย คลิ๊กขวาที่ FolderPCB แล้วเลือก Properties ไปที่หน้าต่าง Security
กด Edit และเลือกไปที่ Users หลังจากนั้นทำการ click ที่ช่อง allow ของทุกเงื่อนไขเลยครับ เมื่อเสร็จเรียบร้อยเป็นอันว่า ไปขั้นตอนต่อไปได้




ขั้นตอนต่อไปให้เปิด โปรแกรม FreeCAD ขึ้นมาครับ โดยเมื่อโปรแกรมเปิดขึ้นมาแล้ว ให้เลือกไปที่ workbenches
โดยเลือกให้เป็น "Printed Circuit Board" โดยถ้าทำตามขั้นตอนมาถูกต้องโดยตลอด workbenches ตัวนี้จะปรากฏขึ้นมาให้เลือกใช้ครับ




หลังจากนั้นให้ไปที่ เมนู Edit แล้วเลือกไปที่ Preferences และจะปรากฏหน้าต่าง Preferences ขึ้นมา เพื่อให้เราทำการตั้งค่าอีกนิดหน่อย



ต่อมาให้เลือกไปที่ PCB ทางด้านซ้ายมือ เลือก Default Software เป็น Eagle เพราะในส่วนนี้สามารถรองรับ ไฟล์ที่มาจาก Software ออกแบบ PCB
ได้หลากหลายมาก แต่ในบทความนี้เราจะแนะนำเพียง ไฟล์ที่มาจาก Eagle เท่านั้นครับ




พอเสร็จขั้นตอนนี้ก็กดปุ่ม OK เพื่อผ่านไปยังขั้นตอนต่อไปครับ โดยที่จ้อมูลปรับแต่งโดยละเอียดจะอยู่ในไฟล์ ที่ชื่อว่า instruction.pdf
ซึ่งไฟล์นี้จะอยู่ใน folder "C:\Program Files\FreeCAD 0.15\Mod\PCB" มาเริ่มกันเลยครับ หากท่านผู้อ่านมีไฟล์ที่จะใช้ทดลองอยู่แล้วก็
เปิดโปรแกรม FreeCAD ขึ้นมาเลยครับ ทำไปพร้อมๆกันเลย หรือจะอ่านให้จบก่อนค่อยลองทำก็ไม่ว่ากันครับ
หลังจากเปิดโปรแกรม FreeCAD ขึ้นมาแล้วให้เลือก File->Open แล้วเลือกไปที่ไฟล์ที่จะใช้ทำ ไฟล์ 3D ครับ




หลังจากที่เปิดไฟล์ขึ้นมาแล้ว จะมีหน้าต่างสำหรับตั้งค่าไฟล์ขึ้นมาดังรูปด้านล่างครับ



1) ส่วนที่ 1 นี้ผู้ใช้สามารถเลือกได้ว่า layer ไหนบ้างที่ต้องการนำมาใช้ครับ ถ้ายังไม่รู้ว่าต้องเลือก layer ไหนง่ายสุดก็เลือกมันมาทั้งหมดก่อนครับ

2) ความหนาของ PCB ที่ต้องการ หน่วยเป็น มิลลิเมตร โดยปกติค่าที่โปรแกรมตั้งมาจะเป็น 1.5 mm ก็ใช้ตามนี้ไปได้เลยครับ หากไม่ได้สั่ง PCB ที่หนากว่านี้

3) เป็นส่วนของรูเจาะ ส่วนนี้สามารถเลือกทั้งหมดมาได้เลย ปล่อยให้ค่าเป็นแบบเดิม ไม่ต้องปรับแต่งอะไรก็ได้ครับ

4) ส่วนนี้ก็เป็นการตั้งค่าปกติที่ผู้ใช้สามารถกำหนดในส่วนของไฟล์ที่นำเข้ามา ควรนำมีสีด้วยไหม กรุ๊ป part หรือจะกำหนดขนาดด้วยก็ได้ แนะนำให้
เลือกแค่ Colorize elements และ Group parts โดยค่าขนาดไม่จำเป็นต้องไปกำหนดครับ

5) ในบางกรณีอาจจำเป็นต้องเลือกการตั้งค่าพิเศษ แต่ในที่นี้เราไม่จำเป็นต้องใช้เขาทำงานครับ ข้ามไปเลย




กดปุ่ม Accept ไปได้เลยครับหลังจากที่ตั้งค่าเสร็จแล้ว หลังจากนี้โปรแกรมจะทำการ load file เข้ามาครับ
จะเร็วหรือช้า ก็ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของไฟล์ และก็ความแรงของเครื่อง PC ของแต่ละท่านครับ ที่เราใช้จากรูปด้านล่างจะเห็นได้ว่า
โปรแกรม FreeCAD โหลดไฟล์มาเรียบร้อยแล้ว ตัว componet ด้าน TOP มี resistor, led, connector phoenix, diode ที่โปรแกรมรู้จักและ assigned มาให้แล้ว
และยังมี component อีกหลายตัวเลยที่ โปรแกรม ยังไม่รู้จัก เป็นส่วน ที่เราต้องหามาเพิ่ม สำหรับผมแล้วมันเป็นส่วนที่สนุกส่วนหนึ่งเลยครับ
และเดี๋ยวเราจะทำการไปหา part หรืออุปกรณ์ที่เราจะใช้ที่เป็นไฟล์ 3D กันครับ และเราจะแนะนำให้ ท่านผู้อ่านปรับแต่ง connector phoenix ให้หันหน้าออกด้านนอกด้วย
จะได้ครอบคลุมเนื้อหา หลายๆด้านครับ ท่านผู้อ่านสามารถดูได้ว่ามี part ตัวไหนบ้างที่เราต้องหาเพิ่มเพื่อมาเติมความสมบูรณ์ของ PCB โดยดูได้จากทางด้านซ้ายมือ ใต้ Parts
อุปกรณ์ที่มีสีดำ แสดงว่าได้เพิ่มอุปกรณ์เข้ามาเรียบร้อยแล้ว ส่วนอุปกรณ์ที่มีสีแดง แสดงว่าเป็นอุปกรณ์ที่โปรแกรมหาไฟล์ 3D ไม่เจอรอเราหามาใส่ให้ครับ






ก่อนอื่นผมขอแนะนำการปรับมุมมองที่จะใช้บ่อยๆในโปรแกรนี้ก่อนครับ ให้ดูตามรูปด้านล่าง ในกรอบสี่เหลี่ยม สีแดง ผู้อ่านสามารถใช้ icon ที่แสดงอยู่นั้น ปรับมุมมองไปในรูปแบบต่างๆ เราจะใช้ตอนที่จะปรับตำแหน่งอุปกรณ์ที่จะใส่เข้ามาในบอร์ด แต่หากต้องการจะหมุนบอร์ดเอง ก็ให้กดปุ่มกลางของเมาส์ บนบริเวณของบอร์ดครับ และถ้าได้มุมที่ต้องการแล้วอยากจะทำการเคลื่อนย้าย บอร์ดก็ให้ทำการ กดปุ่ม Shift ค้างไว้แล้วกดปุ่มกลางของเมาส์ แล้วก็เลื่อนไปในตำแหน่งที่ต้องการ



จะเห็นได้ว่าบนบอร์ดยังอุปกรณ์อยู่อีกหลายตัว ตอนนี้เราต้องออกตามหามันจากเว็ปของผู้ใจดีทั้งหลายแหล่ ที่มีน้ำใจงามทำ file 3D ของอุปกรณ์ต่างๆมาแจกจ่ายเราครับ
หากอุปกรณ์ของท่านผู้อ่าน ไม่ลึกลับซับซ้อนยังไง แหล่งที่ผมจะแนะนำนี่ เอาอยู่ อย่างแน่นอนครับ บางเว็ปก็ต้องสมัครสมาชิกก่อนนะครับ ถึงจะโหลดของเขามาใช้ได้
ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ต้องลงแรงกันหน่อยครับ อย่างว่าไม่มีอะไรได้มาฟรีๆ ไม่เสียเงิน แต่ก็ต้องเสียแรง และเวลาหน่อยครับ


- http://www.3dcontentcentral.com/
- https://grabcad.com/
- http://sourceforge.net/projects/eaglepcb2freecad/files/models/
- http://www.tracepartsonline.net/(S(q4odzm45rnnypc4513kjgy45))/content.aspx?SKeywords=2X02
- http://www.3dcontentcentral.com/Search.aspx?arg=2X02




ผมเริ่มด้วยการไปหา connector สำหรับ JP1 อ้างอิงจากรูปไฟล์ PCB จาก Eagle ด้านบนครับ ไปที่เว็ปในข้อที่1 ก่อนครับเพราะมีเยอะมีมากจริงๆ
แต่จริงๆแล้ว ใน library ที่ติดกับไฟล์ตอนเราโหลดมาก็มีนะครับ แต่มีไม่มาก หรืออาจไม่มี part ที่เราต้องการเลยต้องมาหาเอาใหม่เองครับ

ถ้าหากเราเปิดดูไฟล์ในโปรแกรม eagle เราจะพบว่า connector ตัวนี้มีระยะเป็น 2.54mm เปิดเว็ปมาครับ แล้วใส่ ชื่อ part หรือ component
ที่เราคาดว่าใกล้เคียงกับสิ่งที่เราต้องการมากที่สุดลงไปครับ ในที่นี้ผมจะใส่ double rowspin header 2.54 mmหลังจากที่ เว็ป
ค้นหาเสร็จแล้วก็จะแสดงผลออกมาหลายตัวเหมือนกัน เราก็ต้องลองคลิ๊กเขาไปดูเอาครับ อันไหนที่ใกล้เคียงกับของเรา เพราะเราไม่รู้ว่า ผู้ออกแบบไฟล์ 3D
เขาจะใช้ชื่อเดียวกับที่เราคิดไหม แต่ยังไงมันก็คงไม่ต่างกันมากครับ




ผมเลือกเข้าไปใน item แรกแล้วก็พบกับสิ่งที่ผมหาอยู่นั่นก็คือๆๆๆๆ เจ้า Pin header, pitch 2.54mm, straight, double rowนั่นเอง



หลังจากนั้นให้เลือกในช่องทางด้านขวามือ ใต้คำว่า Free CAD  download เป็น "STEP AP214" แล้วจัดการ download มาครับ หลังจากนั้นให้เลือก location ที่เราจะเก็บไฟล์ connector นี้ครับ สำหรับผม ผมต้องการจะรวมกันไว้ในที่เดียวกับ part อื่น ผมเลือกที่จะไป save ไว้ที่ C:\Program Files\FreeCAD 0.15\Mod\PCB\parts\connectors แล้วจัดการ unzip มันออกมาครับ ผมเลือกที่ rename ให้เข้าใจง่าย
ชื่อไฟล์ไม่มีนัยยะอะไรในขั้นตอนการ add เข้าไปใช้นะครับ เพียงตั้งให้เหมาะสมเข้าใจได้เป็นพอครับ




ทำขั้นตอนการหาอุปกรณ์ที่ยังไม่ครบนี้ ให้ครบทุกตัวก่อน เพื่อเราจะได้ assign เข้าไปใน โปรแกรม พร้อมกันทีเดียวเลยครับ


https://www.facebook.com/EasyCompiler
หรือ
http://www.escompi.com/article[/size]


tonjaa

ดีมากเลยครับ Freeware ด้วย
ผมก็ใช้ Eagle อยู่่เหมือนกัน
คราวนี้จะได้เอาไฟล์ eagle ที่เคยทำไว้ มาลองทำตามบ้างละ

ปล.ปกเคยทำ Model 3D แต่บน Altium

รอติดตามตอนต่อไป  ;D

ขอบคุณมากครับ
ประสบการณ์ สำคัญกว่าความรู้


tonjaa

ว้าวๆ ลองแล้ว แหล่มเลยครับ
แต่หา compoent ไม่เจอเลยสักตัวครับ

ประสบการณ์ สำคัญกว่าความรู้

EasyCompiler

ผมใส่ตอนสองให้แล้วครับ ลองหา part ตามผมดูก่อนนะครับ ตอนสามผมจะเอามาแปะพรุ่งนี้ คืนนี้ขอทำงานก่อน
แต่ถ้าอยากทำจนจบเลย ตามลิงค์ใต้ post ผมไปอ่านให้จบได้เลยครับ


EasyCompiler



ในตอนสุดท้ายนี้เราจะมาต่อกัน ในขั้นตอนการ assign part จนเสร็จออกมาเป็นบอร์ดที่สมบูรณ์ครับ เริ่มกันเลยครับ

ต่อมาครับ เปิดไฟล์ตัวอย่างด้วยโปรแกรม eagle ครับแล้วไปเอาชื่อ library ตามที่โปรแกรม eagle ใช้งานจริงมาครับ
click ขวาที่ connector JP1 แล้วเลือก property ตามรูปด้านล่างครับ






ให้จำชื่อ Package มาครับ ในที่นี้เราใช้ JP2Q เป็นชื่อที่เราจะนำไปใช้อ้างอิงมายัง component ตัวนี้ใน
โปรแกรม FreeCAD ครับ ต่อไปปิด Eagle แล้วย้อนกลับไปที่ โปรแกรม FreeCAD เราใหม่ครับ




ในโปรแกรม FreeCAD จะเห็นได้ว่า JP1 นั้นเป็นสีแดงซึ่งมันคือ part ที่ Missing  ซึ่งหมายถึงไม่พบ part ตัวนี้ครับ
ท่านผู้อ่านมีหน้าที่ assignpart ที่เพิ่ง download มาให้กับ โปรแกรมครับ ขั้นตอนมีดังต่อไปนี้

1) Click ขวาที่ missing component คือ JP1 แล้วเลือก assign model.




2) หน้าต่างสำหรับ assign models จะเปิดขึ้นมาครับ จะเห็นว่าจะมีส่วนทางด้านซ้ายมือ และขวามือ ทางด้านซ้าย
จะเป็นกลุ่มของ component หากเราต้องการ add กลุ่มใหม่เข้ามาก็ให้ทำด้านนี้ ส่วนทางด้านขวา เป็นการเพิ่ม
อุปกรณ์ย่อยเข้าไปในกลุ่มใหญ่




3) มาเริ่มกันเลยนะครับ  ท่านผู้อ่านจะสังเกตได้ว่าในกลุ่มใหญ่ทางด้านซ้ายมือ มีกลุ่มที่ชื่อว่า connector อยู่แล้ว
เพราะฉะนั้นผมจะไม่ทำการเพิ่มกลุ่มใหม่นะครับ แต่จะทำการ เพิ่ม part connector ที่เพิ่ง โหลดมาเข้าไปในกลุ่มนี้เลย
ไปเพิ่มชื่อ part ที่ช่อง Package type ทางด้านบนซ้ายมือครับ โดยที่ผมตั้ง ชื่อว่า "PIN HEADER_2ROWS_4PINS"




4) หลังจากนั้นให้กดที่รูปดินสอ ที่ด้านหลังช่อง Path to element เพื่อทำการบอกตำแหน่ง file connector ของเรา
ให้โปรแกรมรู้ครับ ทางด้านซ้ายมือให้เลือกหาไปจนถึงตำแหน่งที่เราเก็บไฟล์เอาไว้ แล้ว click ที่ชื่อไฟล์ที่เราจะใช้
ทางด้านซ้ายมือ หลังจากนั้นให้กดปุ่ม Add ทางด้านบนซ้ายเพื่อ เพิ่ม part ตัวนี้เข้าไปครับ จะเห็นว่าชื่อไฟล์ที่ เพิ่มเข้ามาจะเป็นสีเขียว
อันนี้สามารถบอกเราว่า เราสามารถ เพิ่มได้ถูกต้องครับ แต่ถ้าชื่อไฟล์เป็นสีแดง ให้ลองดู path ที่เราเลือกว่าถูกต้องไหม
อีกครั้งครับ หลังจากนี้ให้กดปุ่ม Save เพื่อยืนยันการเพิ่มตำแหน่งอุปกรณ์ครับ




5) ในส่วนของ datasheet ผู้อ่านจะเพิ่มหรือไม่ก็ได้ครับ แต่สำหรับผม จะใส่ link ที่ download file มาเอาไว้ด้วย เพื่อสะดวกหาก
ต้องการรู้แหล่งที่มาของไฟล์ครับ

6)  จากนั้นให้เราเลือกในหัวข้อ Category ให้เป็น Connectors เพื่อจะเพิ่ม part นี้ให้อยู่ภายใต้ หัวข้อ Connectors เพื่อความสะดวก
ในการเรียกใช้ครั้งต่อๆไปครับ




7)  สำหรับขั้นตอนนี้ อยากให้ท่านผู้อ่านทำความเข้าใจมากสักหน่อยครับ ซึ่งมาถึงตอนนี้เราได้ component แล้ว
เราเพิ่ม component เข้าไปในกลุ่มแล้ว แต่มีความเป็นไปได้ว่า เวลาเรา ออกแบบวงจรในโปรแกรม Eagle ในแต่ละครั้ง
เราจะใช้ชื่อ library ที่แตกต่างกันแต่จริงๆแล้วก็เป็น part ตัวเดียวกัน เพราะฉะนั้นในขั้นตอนนี้ ท่านผู้อ่านจะต้องเพิ่มชื่อ library
ให้ตรงกับชื่อ library ที่ใช้จริงอยู่ใน file ของโปรแกรม Eagle เพิ่มใหม่ได้โดยไม่จะเป็นต้องลบของเก่าออกนะครับ
เมื่อไหร่ก็ตามที่ชื่อมาตรงกัน ในการทำครั้งต่อๆไป โปรแกรมก็จะเพิ่มอุปกรณ์เข้ามาอัตโนมัติเลย ไม่ต้องมาเพิ่มเอาใหม่ทุกครั้งครับ
เริ่มกันเลยครับ ให้ท่านผู้อ่าน เพิ่ม model ใหม่เข้ามา ภายใต้ component ตัวนี้ โดยกดไปที่รูปภาพ บวกสีเขียว ทางด้านขวามือ
จะปรากฏหน้าต่าง Add new model ขึ้นมาให้ ท่านผู้อ่านใส่ชื่อ library ของ part นี้ ที่ดูมาจากโปรแกรม eagle เข้าไป สำหรับ
connector ตัวนี้คือ JP2Q ตามที่เราได้เปิดดูชื่อจากโปรแกรม Eagle ไปแล้วครับ แล้วกด Add ครับ หลังจากนั้น model ใหม่
ก็จะถูกเพิ่มเข้ามาภายใต้ library ตัวนี้ครับโดยหาก ในการออกแบบครั้งต่อไปหากท่านใช้ชื่อ ที่ต่างออกไป แต่ต้องการ ให้เป็น part
ตัวนี้ก็แค่มา เพิ่มชื่อ model ตัวใหม่เข้ามาโดยที่ทำตามขั้นตอนเดียวกันนี้ แล้วกดปุ่ม Save และปิดหน้าต่าง Assign models ครับ




8) หลังจากนั้นก็ให้ไป Click ขวาที่ missing component คือ JP1 อีกครั้งนึง แล้วเลือก Update model



9)  จากนั้นหน้าต่าง update model จะปรากฏขึ้นมา เราก็ทำการตรวจสอบอีกครั้งนึงว่า โปรแกรมได้ทำการเลือก part เอาไว้ให้เราถูกต้องหรือยัง
ถ้าถูกต้องแล้ว ก็กดปุ่ม OK ได้เลยทีเดียว




10) จะเห็นได้ว่าตอนนี้ connector ได้ถูกโหลดเข้ามาในไฟล์เราแล้ว แต่มันยังเอียงอยู่ยังใช้งานไม่ได้ เราต้องทำการปรับแต่งให้อุปกรณ์ตั้งตรง
และอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องเสียก่อนครับ




11) ให้ทำการ click ขวาที่ JP1 ที่เดิมครับแล้วเลือกไปที่ PCB modelà Placement model เพื่อจะทำการปรับแต่งตำแหน่งของ connector กันครับ





ใส่ค่าเข้าไปตามรูปด้านบน อ้ออย่าลืมปรับมุมมองของไฟล์ให้ดูได้สะดวกนะครับว่า ตำแหน่งถูกต้องหรือยัง ปรับดูหลายๆมุม
แล้วเปลี่ยนตัวเองเอาตามความเหมาะสมครับ หลังจากได้ตำแหน่งตามที่ต้องการแล้วก็กดปุ่ม OK ครับ ก็จะได้ไฟล์หน้าตา ตามรูปด้านล่างออกมา






12)  ขั้นตอนต่อไปก็ทำซ้ำตั้งแต่หาอุปกรณ์มาใส่ ทำอย่างนี้จนครบทุกตัว เทคนิคการหาอุปกรณ์นะครับ หากไม่รู้จะหาด้วยชื่ออะไรดี
หรือหาแล้วมันไม่เจอ ไม่สื่อความหมาย ให้ลองใช้ชื่อ package ของอุปกรณ์ไปค้นหาดูครับ ส่วนมากจะเจอหมดครับ เพราะเป็นมาตราฐานอยู่แล้ว
รูปด้านล่างเป็นรูปที่ เพิ่มอุปกรณ์เข้าไปจนครบแล้วนะครับ ก็ออกมาดูดี และยังสามารถ export ไฟล์ออกไปใช้สำหรับงานอื่นๆ ตามความต้องการได้อีกครับ




สำหรับท่านผู้อ่านที่ต้องการอุปกรณ์ 3D ที่เป็นสีนะครับเวลาที่ download part มาใช้ก็ลองเลือกที่เป็น นามสกุล *.IGS มาครับ เวลา assign part เข้าไปในโปรแกรม FreeCAD ก็จะได้เป็นสีออกมาเหมือนในตัวอย่างจากรูปด้านบนครับ

ส่วนรูปด้านล่างก็เป็นตัวอย่าง board ที่ทำเสร็จแล้ว แต่บางตัวอย่างใช้ไฟล์อุปกรณ์ที่เป็น *.step เลยไม่มีสีติดมา

ในส่วนของผู้จัดทำบทความนี้ ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่า บทความนี้จะมีประโยชน์กับทั้งมือใหม่และมือเก๋า นะครับ ในส่วนของโปรแกรมนั่น
ยังมีอีกหลายส่วนที่ยังไม่ได้อธิบาย ท่านผู้อ่านก็สามารถศึกษาเพิ่มเติ่มได้จากคู่มือที่มากับ ไฟล์ที่ download มาครับ เพื่อใช้ต่อยอด
ให้กับงานของท่านมากขึ้นไปอีก และหากมีเทคนิคและวิธีอื่นๆ ที่ผู้จัดทำไม่ทราบ และตกหล่นไป ก็มาบอกมาแนะนำกัน เพื่อประโยชน์ของทุกคนนะครับ สุดท้ายก็ขอจบบทความนี้ไว้เท่านี้ ขอบคุณครับ












ติดตามกันได้ที่
https://www.facebook.com/EasyCompiler
http://www.escompi.com/article