ดร.ดุสิต ให้ความกระจ่างเกี่ยวกับโซล่าร์รูฟเสรี

Started by tha, February 07, 2015, 12:28:37 PM

Previous topic - Next topic

elec

เท่าที่รู้ ถ้าเราจะต่อระบบเข้ากับของการไฟฟ้าเพื่อที่จะขายคืนให้การไฟฟ้า การไฟ้ฟ้าต้องเข้ามาตรวจสอบระบบของเรา

tha

ผมซื้อหนังสือ "เกษตรกรรมธรรมชาติ ฉบับที่ ๒/๒๕๕๘" มาอ่านดูมีเรื่องโครงการ Solar PV Roof top ด้วย พอสรุปได้คร่าวๆดังนี้
    โครงการ Solar PV Roof top เป็นการติดตั้งโซลาร์เซลล์ในระบบ Grid-connected System ในบ้านเรือน ในรูปแบบ Feed-in Tariff(แบบแยกมิเตอร์ขายไฟ) ขนาดกำลังไฟฟ้าไม่เกินหลังละ 10 KW รวม 100 MW จะเปิดรับสมัครถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2558 โดยมีเป้าหมายจ่ายไฟเข้าระบบภายในวันที่ 31 ธค. 58 การไฟฟ้าจะรับซื้อไฟจากบ้านที่ผ่านคัดเลือกในราคา 6.85 บาทต่อ 1 ยูนิต สัญญา 25 ปี
    คุณสมบัติของแผงโซลาร์เซลล์ แผงชนิด Crystalline ควรได้รับการรับรองมาตรฐาน มอก. 1843 หรือ iEC 61215 แผงชนิด Thin Film มอก. 2210 หรือ IEC 61646 พร้อมใบ certificate
    คุณสมบัติของอุปกรณ์แปลงไฟชนิดต่อกับระบบจำหน่าย(Grid-connected Inverter)  ควรได้รับการรับรองมาตรฐาน IEC 61727, IEC 62116 พร้อมใบ certificate การติดตั้งทั้งหมดจะต้องมีวิศวกรตรวจสอบและลงนาม
    ลงทุนประมาณ 800,000 บาท คิดพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ 10,000 W x 4.5 ชม. = 45,000 วัตต์-ชม. หรือ 45 ยูนิต การไฟฟ้าจ่ายให้ 6.85 บาทต่อยูนิต คิดเป้นเงิน 308.25 บาทต่อวัน หรือ 9,247.5 บาทต่อเดือน จะใช้เวลาในการคืนทุน 7.2 ปี
    โดยส่วนตัวแล้วผมคิดว่าโครงการนี้เป็นโครงการที่ให้คนลงทุนผลิตไฟขายแต่ก็ไม่ได้เรียนรู้การใช้พลังงานทดแทนเต็มรูปแบบเหมือนอย่างที่คุณ ae123 ได้ทำ เพราะมิเตอร์ซื้อกับมิเตอร์ขายแยกกัน ถ้าไฟการไฟฟ้าดับไฟบ้านเราก็ดับด้วย ตอนนี้ราคาค่าไฟฟ้าอยู่ที 4.75 บาทต่อหน่วย ถ้าต่อไปราคาค่าไฟขึ้นสูงเกิน 6.85 บาทคงจะได้โมระบบเพื่อเอาไฟมาใช้เอง ผมคิดว่ารอโครงการหน้า อนาคตอุปกรณ์พวกนี้อาจถูกลง รอให้ระบบ Smart Hybrid เกิดขึ้นก่อน ค่อยว่ากันใหม่จะดีกว่า   ;)

tha

ล้างรถไปล้างรถมา มาลองคิดดูอีกที ผมก็เป็นวิศวกรไฟฟ้า ก็พอรู้ระบบและชอบอะไรเต็มรูปแบบ แต่สำหรับคนที่ไม่ได้เป็นช่าง ถ้าใช้ระบบที่ยุ่งยาก เสียขึ้นมาคงไปไม่เป็น เริ่มต้นที่อะไรจากง่ายๆไปก่อนก็ดีเหมือนกัน จะได้ใช้กันอย่างแพร่หลาย ถ้ามีอะไรเสีย(โซลาร์เซลล์. อินเวอรืเตอร์. (ไม่มีแบตเตอรี่)) ก็ไม่กระทบกระเทือนกับไฟที่เราใช้เพราะระบบแยกกัน ค่อยเป็นค่อยไป พอคุ้นเคยแล้ว เทคโนโลยีได้แล้วค่อยปรับระบบเพิ่มขึ้นไป ส่วนการลงทุนก็ดูจากการคำนวณว่าคุ้มมั้ย ส่วนตัวผมถ้ามีเงินล้านก็คงเอาไปเปลี่ยนรถปิกอัพเป็นอันดับแรก  ;D


tatree_b

เขาซื้อเราหน่วยละ 7 บาท เขาเอาไปขายโรงงานหน่วยละ 30 บาทอัพ (จะได้จากค่าดีมานด์เป็นหลัก) ไม่น่าขาดทุนสำหรับการไฟฟ้า เพราะเขาวัด ทำสถิติและกำหนดโควต้าเป็นโซนนิ่งจังหวัดเรียบร้อยแล้ว

ถ้าเราเป็นโรงงานก็ประหยัดค่าดีมานด์ไปได้เยอะนะ แต่ต้องออกแบบให้ถูกกับโหลดด้วย  ส่วนถ้าคิดจะขายไฟถ้ามีที่เหลือ(คนละเรื่องกับโรงงานนะ) มีเวลาดูแลระบบก็น่าจะโอเค หรือไม่งั้นก็แอบติดต่อโรงงานแล้วลากสายไฟเองคิดfixed หน่วยละ 20 บาท  555

ขอเสริมคุณ tha ครับ  การคำนวนจุดคุ้มทุนคิดแบบลิเนียร์ไม่ได้ครับ เพราะมีแฟคเตอร์ทางเศรษฐศาตร์เกี่ยวข้องเยอะ รวมพวกค่าแรง ต้นทุนดูแล และยังมีเรื่องค่าความเสี่ยง เช่น โซล่าร์เซลล์แตก ระบบพัง....    แต่ในใจผมก็คิดว่าน่าจะอยู่แถวๆ 12 ปีนะ (ในทางเลือกอื่น คิดแบบคร่าวๆ ใช้เงินแปดแสนถ้ากู้เขามา ดอกตอนนี้ 6-7 % ก็ตกเดือนละ 5-6 พันแต่ลดต้นถ้าดอกไม่เพิ่ม  แต่ถ้ามีเงินก้อนนี้เอาไปเล่นหุ้นลงทุน ดอกปีละ 10 % ก็ประมาณ 7-8แปดพันแต่เพิ่มพูน )

     แต่อีก 5 ปีผมว่าเทคโนโลยีโซล่าร์เซลล์ไปไกลกว่านี้มาก ตอนนี้ eff 15 % ถึงตอนนั้นน่าจะได้ 30% แปลว่าพื้นที่ลดลงครึ่งนึง หรือมีรายได้ 2 เท่า เมืองที่เจริญเขาใช้พวกนี้กันแล้วที่ 25 เปอร์เซนต์)

     อีกอย่างเผื่อระยะยาวด้วยเพราะกำลังไฟฟ้าจะเสื่อมลงเหลือ 90% ในเวลา 10 ปี และ 80 % ในอีก 5 ปีถัดไป อันนี้จากบริษัทที่มีมาตรฐานนะ ถ้าโนเนมก็บอกไม่ได้

http://www.es.co.th/Schemetic/PDF/LM120BB00.PDF

ถ้ายังจ่ายค่าไฟได้รอควอนตัมดอทเทคโนโลยีดีกว่า อิอิ เห็นเคลมว่าจะได้ตั้ง 65 % กราฟปีเลยชาร์ทออกไป  :P

ae123

 
ผมไม่มีความรู้ลึกซึ้ง รู้แต่ว่า ไม่ต้องจ่ายค่าไฟแพง ประหยัดเงินไปได้หลายบาท ก็ดีแล้วสำหรับผม
เรื่องระบบ ที่มันยุ่งยาก ก็ไม่ได้ได้ศึกษา ทำแบบง่ายๆ ทำเองใช้เองประมาณนั้น
*** ไฟฟ้าเหลือก็ใช้ปลูกผัก Hydroponics ยังไม่กล้าไปขายให้การไฟฟ้า  :D

tha

ผมก็พอรู้แต่หลักการ ยังไม่ได้ทำงานสายนี้เลย อ่านหนังสือเจอก็มาเหล่าสู่กันฟังคร่าวๆ ท่านใดมีข้อมูลดีๆก็บอกกล่าวกันมา จะได้ศึกษาไว้ เผื่อวันข้างหน้าได้ทำงานสายนี้  :D