ข้อสงสัยเกี่ยวกับ resistors

Started by IndigoBlue, July 16, 2014, 09:38:25 AM

Previous topic - Next topic

IndigoBlue

สมมติว่า ข้าพเจ้าต้องการใช้งาน Resistors ค่า 1.5 K แต่ปรากฏว่าข้าพเจ้าไม่สามารถหา Resistors ค่าดังกล่าวได้ แต่กลับได้ Resistors ซึ่งมีค่า 1.3 K มาแทน

ข้าพเจ้าสงสัยในค่าความผิดพลาด +-%

๑. หากใช้ R ค่าความผิดพลาด +-1%
   ๑.๑ หากข้าพเจ้าต้องการค่า R 1.5 K แต่ข้าพเจ้ามี R 1.3 K ค่าความผิดพลาดนั้น มีผลต่างกันเช่นไรกับวงจร

๒. หากใช้ R ค่าความผิดพลาด +-5%
   ๒.๑ หากข้าพเจ้าต้องการค่า R 1.5 K แต่ข้าพเจ้ามี R 1.3 K ค่าความผิดพลาดนั้น มีผลต่างกันเช่นไรกับวงจร

๓. เช่นนั้น หากข้าพเจ้าต้องการค่า R 1.5 K แต่ข้าพเจ้ามี R 1.3 K ข้าพเจ้าควรจะเลือกค่าความผิดพลาดเท่าไร ระหว่าง +-1% และ +-5% เพราะอะไร ?

ข้าพเจ้าขออภัยในคำถามนี้ หากเป็นคำถามที่ไม่ควร ไม่เหมาะสม และหรือประการใด ข้าพเจ้าขออภัย เนื่องด้วยข้าพเจ้าดังด้อยในปัญญา จึงมิได้สำคัญว่ารู้ เนื่องด้วยข้าพเจ้ามีการศึกษาน้อย จึงมิได้สำคัญว่าเก่ง หากอาวุโสท่านใดพอจะเข้าใจ โปรดชี้แจ้งข้อสงสัย จะเป็นพระคุณอย่างสูง
มองในสิ่งที่ไม่มีใครมอง สงสัยในสิ่งที่ไม่มีใครสงสัย คิดในสิ่งที่ไม่มีใครคิด ทำในสิ่งที่ไม่มีใครทำ เห็นในสิ่งที่ไม่มีใครเห็น เป็นในสิ่งที่ไม่มีใครเป็น

Lastman

ไม่กล้าตอบครับ เลยมาปูเสื่อ.... 8)

IndigoBlue

ช่วยตอบหน่อย ทุกคำตอบ คือ ๑ ความคิด มิใช่สำคัญว่าผิดถูก เพราะทุกคำตอบ เป็นเพียงแค่ สมติฐาน ซึ่งอีกนัยหนึ่งนั้นเราเรียกว่า "การวิเคราะห์"

ข้าพเจ้าสงสัย และสงสัยในคำตอบ มานอนรอปูเสื่อตั้งแต่เริ่มต้นคำถาม จึงวานผู้รู้ หรืออาจจะรู้ ช่วยแสดงความคิดเห็น

ข้าพเจ้าฟังทุกความคิด ทุกคำตอบ เพราะข้าพเจ้าอยากมีมุมมองที่กว้าง ข้าพเจ้าจึงต้องการทุกคำตอบ ซึ่งเราเรียกสิ่งนี้ว่า "การระดมความคิด"
มองในสิ่งที่ไม่มีใครมอง สงสัยในสิ่งที่ไม่มีใครสงสัย คิดในสิ่งที่ไม่มีใครคิด ทำในสิ่งที่ไม่มีใครทำ เห็นในสิ่งที่ไม่มีใครเห็น เป็นในสิ่งที่ไม่มีใครเป็น


RoLRoR

 ;D คิดว่านะ... คำตอบของทุกข้อ
- ผลการทำงานไม่แตกต่าง ถ้าวงจรประกอบมีเรนจ์ที่ยอมรับค่าได้กว้าง
- ผลการทำงานผิดเพี้ยนไป แต่ยังสามารถปรับแต่งวงจรประกอบได้
- ผลการทำงานไม่แน่นอน เพราะปรับแต่งวงจรประกอบไม่ได้

คิดว่านะ... ค่าความต้านทานมีผลโดยตรงกับกระแสและแรงดัน วงจรคุณยอมรับครอบคลุมได้แค่ไหน
แต่ยังมี ชนิด, กำลัง, อายุ, ค่า L/C, ความถี่, และ... อีกสำหรับการเลือกใช้ให้เหมาะสมครับ
http://th.wikipedia.org/wiki/ตัวต้านทาน
http://202.129.0.134/courses/135/50scM3-KO050102.pdf
http://kpp.ac.th/elearning/elearning3/book-02.html

ตอบตามประสาคนก๊อบมาอ่านนะครับอย่าว่ากัน  ;D

skytec

ผมว่าอยู่ที่วงจรครับว่าใช้ความต้านทานนี้นเพื่ออะไร หากเพื่อจไกัดกระแส ผลกระทบจะไม่มาก หากเพื่อเป็นส่วนสร้างความถี่ งานนี้มีผลเน่อะ หากใช้ทำพวกมิเตอร์ยิ่งมีผลมากขึ้น ตรงที่ต้องการเปล่า
"จินตนาการสำคัญกว่าความรู้ ความรู้มีข้อจำกัด จิตนาการไร้ขอบเขต " --อัลเบิร์ต ไอสไตน์

Lastman

ถ้าจะตอบ ผมจะตอบว่า ท่านอาจจะคิดมากไปเอง

คำว่า %ความผิดพลาดหมายถึง "ค่าที่เผื่อไว้ว่ามันอาจจะผิดพลาดไปจากค่าที่ระบุ"
แล้วค่าที่ผิดพลาด มันก็อาจจะเกิดได้ตลอดเวลา ตามเหตุหรือปัจจัย ตั้งแต่กระแสไฟฟ้า อุณหภูมิความร้อน
ความชื้น ความถี่ แรงดัน กระแส และปัจจัยอื่นๆ 108 ฯลฯ
ซึ่งมันอาจจะเกิดก็ได้ หรือไม่เกิดก็ได้ครับ  แต่ถ้าเกิด ค่าความผิดพลาดมันก็จะไม่มากหรือน้อยไปกว่า % ที่ระบุไว้

การทำงานแบบวิศวกร/วิศวกรรม เค้าจะถือว่าความสมบูรณ์ (หรือ perfect) นั้น "มันไม่มีครับ"
ทุกอย่างต้องเผื่อ หลักการมันก็แค่นั้น

สำหรับคำถามข้อ 1 และ 2 ผมตอบรวมๆ ไปเลยคือ
ความผิดพลาดมีแน่นอน ขึ้นอยู่กับวงจรว่าคุณออกแบบไว้อย่างไร อาจจะทำงานได้แบบปกติ หรือผิดปกติแบบหาสาเหตุไม่ได้เลยก็ได้ (unexpected error)

ส่วนคำถามข้อสาม ที่ถามว่าจะใช้อะไรดีระหว่าง -1% กับ -5%
มันก็ตอบง่ายๆ ครับว่า ส่วนใหญ่เค้าก็เอาที่ผิดพลาดน้อยๆ ไว้ก่อน ย่อมดีกว่าอยู่แล้ว เพราะมันสามารถคำนวนได้ แค่นั้นอ่ะคับ

สรุป...ถ้าท่านต้องการค่า 1.5k สิ่งที่ควรทำก็คือ ต้องไปหา R 1.5K มาใช้ แค่นั้นเอง  ???

avr_lover

สมมติว่า ข้าพเจ้าต้องการใช้งาน Resistors ค่า 1.5 K แต่ปรากฏว่าข้าพเจ้าไม่สามารถหา Resistors ค่าดังกล่าวได้ แต่กลับได้ Resistors ซึ่งมีค่า 1.3 K มาแทน

ข้าพเจ้าสงสัยในค่าความผิดพลาด +-%
ตอบจากความรู้หางอึ่งของผมครับ

๑. หากใช้ R ค่าความผิดพลาด +-1%
   ๑.๑ หากข้าพเจ้าต้องการค่า R 1.5 K แต่ข้าพเจ้ามี R 1.3 K ค่าความผิดพลาดนั้น มีผลต่างกันเช่นไรกับวงจร
==>1.3K+/-1% หมายความว่ามีโอกาศมีค่าเป็นไปได้ตั้งแต่ 1.287K ถึง 1.313K มีผลกับวงจรอย่างไร ผมก็คงต้องย้อนกลับไปถามว่าเป็นวงจรอะไร ประเภทไหน sensitive แค่ไหน หรือยอมรับผลผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากค่านี้ได้มากแค่ไหนครับ ทุกอย่างมีที่มาที่ไป

๒. หากใช้ R ค่าความผิดพลาด +-5%
   ๒.๑ หากข้าพเจ้าต้องการค่า R 1.5 K แต่ข้าพเจ้ามี R 1.3 K ค่าความผิดพลาดนั้น มีผลต่างกันเช่นไรกับวงจร
==>1.3K+/-5%  หมายความว่ามีโอกาศมีค่าเป็นไปได้ตั้งแต่ 1.235K ถึง 1.365K มีผลกับวงจรอย่างไร เหมือนเดิม

๓. เช่นนั้น หากข้าพเจ้าต้องการค่า R 1.5 K แต่ข้าพเจ้ามี R 1.3 K ข้าพเจ้าควรจะเลือกค่าความผิดพลาดเท่าไร ระหว่าง +-1% และ +-5% เพราะอะไร ?หากวงจรจำเป็นต้องแม่นยำมากควรหาค่าที่เที่ยงตรงที่สุดคือ 1.5K หากคุณเลือกที่จะใส่ค่า 1.3 แสดงว่าผิดพลาดตั้ง 13% ถ้ายอมรับได้ขนาดนั้แสดงว่า1%หรือ5%ก็ใส่ไปเถอะจริงไหมครับ
ปล.ผมคำนวณถูกไหมนี่ :P

p_chusak

ดู R ตัวอื่นในวงจร ว่าใช้ สีอะไร ถ้า สีฟ้า ก็เอา 1% ใส่ ถ้า สีน้ำตาล ก็เอา 5% ใส่ เหตุผลเรื่อง ART ล้วนๆ  ;D ;D