กำจัด น้ำยากัดปริ้นท์ อย่างไร ?

Started by zero, July 04, 2014, 08:34:21 PM

Previous topic - Next topic

zero

ขอถามท่านผู้รู้หน่อยครับ หลังจากเรากัด PCB ด้วยกรดแล้วเสร็จแล้ว ? หรือเสื่อมแล้ว
เราจะมีวิธี กำจัดน้ำยาเหล่านี้ ได้อย่างไรครับ ?
ทิ้งลงท่อได้เลยไหม ? หรือใส่ถุงใส่ขวด แล้วนำไปทิ้งถังขยะ จะปลอดภัยแค่ไหนครับ ?
ขอบคุณครับ

pa_ul

คงหมายถึงน้ำยาสีน้ำตาลๆที่มักจะเรียกกันว่ากรดกัดปริ้นท์ แต่ที่จริงมันเป็นเกลือคลอไรด์ของเหล็ก ถ้าเทน้ำยากัดปริ้นท์ที่ใช้แล้วลงในท่อน้ำ ทองแดงคลอไรด์ในน้ำยาที่ใช้แล้วจะไปสะสมอยู่ตามแหล่งน้ำธรรมชาติ ทองแดงคลอไรด์เหล่านี้เป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์

การกำจัด : ใส่โซเดียมคาร์บอเนต หรือโซเดียมไฮดรอกไซด์ลงไป เพื่อปรับ pH ให้ได้ราวๆ 7 - 8 ที่ pH แถวๆนี้ ทองแดงแยกตัวออกมา รอให้มันตกตะกอนให้หมด แล้วรินน้ำใสๆแยกออกมาผสมกับน้ำเปล่ามากๆ น้ำใสๆ ส่วนนี้สามารถเททิ้งลงท่อได้ ส่วนตะกอนที่แยกออกมาให้นำไปผสมกับปูนซิเมนต์และทราย นำไปหล่อเป็นก้อนรูปร่างต่างๆตามใจชอบ แล้วนำไปประดับสวนครับ ที่ทำอย่างนี้ก็เพื่อไม่ให้ทองแดงมันกระจายตัวไปตามพื้นดิน หรือแหล่งน้ำธรรมชาติต่างๆ

ทางออกที่ดีกว่านั้น คือใช้น้ำยากัดปริ้นท์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่นโซเดียมเปอร์ซัลเฟต หรือไม่ก็ใช้น้ำยาที่รีไซเคิลได้เช่นคอปเปอร์คลอไรด์

ปล. เดี๋ยวอาจจะมีนักเคมีตัวจริงมาเพิ่มเติม.....มั้ง....

zero

ขอบคุณท่าน pa_ul มากครับ
ท่านแนะนำได้ดีมากๆเลย

ว่าแต่ว่าเจ้า โซเดียมคาร์บอเนต หรือโซเดียมไฮดรอกไซด์ หาซื้อได้ที่ไหนครับ ?



tatree_b

ซื่อกรดกัดปริ้นแต่จริงๆ มันเป็นด่าง ชื่อทางการคือเฟอริคคลอไรด์ (FeCl3) จะกำจัดก็คือทำให้เป็นกลางหรือเติมกรดเข้าไปด้วย PH และปริมาณที่สมดุลย์กัน

ส่วน โซเดียมคาร์บอเนต หรือโซเดียมไฮดรอกไซด์ ที่ศึกษาภัณฑ์มีแน่นอนครับ

pa_ul

Quote from: tatree_b on July 11, 2014, 09:47:42 AM
ซื่อกรดกัดปริ้นแต่จริงๆ มันเป็นด่าง ชื่อทางการคือเฟอริคคลอไรด์ (FeCl3) จะกำจัดก็คือทำให้เป็นกลางหรือเติมกรดเข้าไปด้วย PH และปริมาณที่สมดุลย์กัน

ส่วน โซเดียมคาร์บอเนต หรือโซเดียมไฮดรอกไซด์ ที่ศึกษาภัณฑ์มีแน่นอนครับ

มันเป็นเกลือครับ เมื่อละลายน้ำแล้วสารละลายจะมีฤทธิ์เป็นกรด ไม่ใช่ด่างแน่นอน

JMew

Quote from: tatree_b on July 11, 2014, 09:47:42 AM
ซื่อกรดกัดปริ้นแต่จริงๆ มันเป็นด่าง ชื่อทางการคือเฟอริคคลอไรด์ (FeCl3) จะกำจัดก็คือทำให้เป็นกลางหรือเติมกรดเข้าไปด้วย PH และปริมาณที่สมดุลย์กัน

ส่วน โซเดียมคาร์บอเนต หรือโซเดียมไฮดรอกไซด์ ที่ศึกษาภัณฑ์มีแน่นอนครับ

ไม่กูกต้องค่ะ ออกซิเดชั่นสเตตของเหล็ก มีอยู่สองออกซิเดชั่น คือ Fe2+ เรียกว่า เฟอร์รัส FeCl2 คือ เฟอร์รัสคลอไรด์ ส่วนอีกออกซิเดชั่นสเตตหนึ่งของเหล็กคือ Fe3+ เรียกว่า เฟอร์ริค FeCl3 จึงเรียกว่าเฟอร์ริค คลอไรด์ เมื่อละลายน้ำแล้ว น้ำจะล้อมรอบโมเลกุล มันจะดึง OH- เข้าหาลิแกนด์ จึงเหลือ H+ ในสารละลาย ในธรรมชาติจะมี Fe3+ มากกว่า Fe2+ เพราะในอากาศมีออกซิเจน มันจึงออกซิไดซ์ Fe2+ ให้กลายเป็น Fe3+ จนหมด ปกติเราวิเคราะห์เหล็กในสารละลายเราจะทำ Speciation นั่นก็คือ แยกวิเคราะห์ Fe2+ และ Fe3+

Fe2+ จะทำปฏิกิริยากับ 1,10-phenanthrolene เกิดเป็นสีส้มแดง
ส่วน Fe3+ จะทำปฏิกิริยากับ KSCN เกิดเป็นสีเลือดนก

ถ้าจะวิเคราะห์เหล็กรวมในสารละลายจะต้อง Reduce เหล็กทั้งหมดให้อยู่ในรูปของ Fe2+ ทั้งหมดเสียก่อน โดยการเติม Hydroxylamine hydrochloride หรือไม่ก็ ascorbic acid แล้วค่อยวิเคราะห์ Fe2+ โดยใช้ 1,10-phenanthroline

หรือถ้าจะวิเคราะห์เหล็กรวมในสารละลายแบบ Oxidized state ก็ต้อง oxidize เหล็กทั้งหมดให้อยู่ในรูปของ Fe3+ โดยการ purge Oxygen หรือ ใช้ oxalic acid ก็ได้ แล้วค่อยนำมาวิเคราะห์ด้วย KSCN

FeCl3 ที่ใช้ในการกัด PCB สามารถสังเคราะห์ได้ด้วยกระบวนการนี้

http://www.youtube.com/watch?v=43Xsh9J7S-g


Fe มีค่า E0 มากกว่าทองแดง มันจึงเปลี่ยน Cu จาก Cu0 ซึ่งเป็นของแข็งที่เกาะอยู่บน PCB ให้มาละลายใน Solution กลายเป็น Cu2+ เมื่อมี Chloride ion ในสารละลาย ทองแดงจึงแย่งจับกับ Cl กลายเป็น CuCl2
ส่วนลายที่เคลือบไว้ ไม่สัมผัสกับ FeCl3 จึงไม่ถูก oxidize

ถ้าจะทำให้ทั้ง FeCl3 และ CuCl2 กลายเป็นตะกอนที่ไม่ละลายน้ำ เราต้องทำให้ทั้งสองอยู่ในรูปของออกไซด์ โดยการเติม OH- ลงไป นั่นคือ NaOH หรือ KOH เมื่อ OH- แย่งจับกับ Fe3+ และ Cu2+ ก็จะกลายเป็น complex ในรูปของตะกอนที่ไม่ละลายน้ำ มีค่าคงที่ของการละลายต่ำมาก มันจึงตกตะกอนลงสู่ก้นภาชนะ และเมื่อทำให้แห้งและเผาก็จะได้ผลึกของ Fe2O3 และ CuO

ในปัจจุบันมีตัว oxidize หลาย ๆ ตัวที่แรงและเร็วกว่า FeCl3 เลือกใช้ได้ตามนิยม
โครงการกะเทยท่องโลก

tatree_b

ขอบคุณมากครับ เป็นความรู้ใหม่จริงๆ เพราะผมจำมาผิดตั้งแต่ปวช. เลย

zero

ขอบคุณทุกท่านมากๆครับ
มืนๆหน่อย แต่ก็พอจะเริ่มเอาไปแก้ปัญหานี้ได้
คงต้องเก็บข้อมูลอย่างนี้ไว้ใช้บ้าง   ;)