อะแดปเตอร์ของคนยอดขยัน

Started by nightbird, February 15, 2014, 10:46:25 AM

Previous topic - Next topic

nightbird




ขยันทำและฝีมือดีมากเลยนะครับ....เล็กมากและใช้งานได้จริง

ลิงค์
http://www.elektroda.pl/rtvforum/topic2573275.html

chirawat_not




Lastman

Quote from: tito on February 15, 2014, 03:02:36 PM
http://www.electoday.com/index.php/topic,10735.0.html
เจ๋งกว่า ไทยทำด้วย

เสริมท่าน tito นิดหน่อย คนไทยขายเฉยๆ ครับ แต่ไม่ได้ทำครับ  (ถ้าไทยทำจะดี(+แพง)กว่านี้ ฮาาาาาาาาา  ;D)

nightbird

Quote from: tito on February 15, 2014, 03:02:36 PM
http://www.electoday.com/index.php/topic,10735.0.html
เจ๋งกว่า ไทยทำด้วย

อ้อ...คนละแบบครับคุณtito ที่ฝรั่งทำเป็น โปรแกรมเมอร์อะแดปเตอร์สำรับโปรแกรมชิปหลายๆตัว อ่ะ
แต่ของคุณLastmanก็น่าใช้มั่กๆ^^

Lastman

แนวคิดฝรั่งก็ดีนะครับ แต่ผมเคยคิดทำแล้ว และไม่ค่อยชอบเท่าไหร่ เพราะว่าเจอปัญหาหลายด้าน
ถ้าเป็นพวก SMD ผมจึงให้ค่าความสำคัญของการประกอบก่อนแล้วค่อยเบิร์น ถ้าเบิร์นลง IC SMD ก่อนแล้วไปประกอบ ผมเจอปัญหาเยอะกว่ามาก ดังนี้
1. ถ้าเบิร์นก่อน แล้วไปประกอบ (จ้างประกอบ)เราจะมีปัญหาการสับเปลี่ยนชิบกลางทาง (คือเอาตัวเปล่าๆ มาเปลี่ยนกับตัวที่เบิร์นแล้ว) เมื่อประกอบเสร็จมันจะใช้งานไม่ได้
แล้วมันจะเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบซึ่งเสียเวลา ส่วนชิพที่เบิร์นแล้วก็อาจจะเอาไปใส่วงจรแอบขายต่อได้ (เคยทำธูรกิจ โดยผมจะส่ง ic แล้วคิดค่าไลเซนส์ เอาไอซี
ไปประกอบบอร์ดที่จัดเตรียมขึ้น ซึ่งถ้า ic เสียรับประกันเปลี่ยนให้  พวกเล่นเอา ic เปล่ามาเปลี่ยน เสียทั้งค่าไอซี ค่าไลเซนส์)

2.ต่อให้ประกอบเสร็จแล้ว การ update firmware หรือการเบิร์นใหม่ ยังไงก็ต้องทำผ่าน port ที่เตรียมให้อยู่ดี มันก็ยังหนีไม่พ้นการที่ต้องเบิร์นบน port ที่เตรียมไว้ให้
ถ้าเราไม่ทำ port ตรงนี้เผื่อ เราใช้แต่วิธีเบิร์นก่อนแล้วประกอบ เวลา Update ทีต้องมานั่งเป่าลมออกทำใหม่ ตายพอดี

ผมจึงมองว่า ส่วนของฝรั่งทำนั้นผมว่ามันเยอะไป ขาที่ใช้เบิร์นจริงๆ มีไม่กี่ขา เราน่าจะให้ความสำคัญตรงนั้นมากกว่า โดยอาจจะใช้การออกแบบวงจรมาช่วยร่วมแก้ปัญหาได้

ส่วนผมได้พัฒนาเครื่องเบิร์นแบบขนานขึ้นมาเอง เพราะถ้าใช้เบิร์นทีละตัว ไม่ทันกิน (เบิร์นทีละเป็นเข่งๆ (-..-!))
การเบิร์นเราจะใช้การอ้างอิงเครื่องเบิร์นเป็น comport (com1 ,2,3 ...N) ไม่ใช่อิง driver (เช่น USBASP) แบบนั้นช้า และทำได้ทีละตัวต่อ 1 เครื่อง pc
และการทำเครื่องเบิร์นเฉพาะ แบบ stand alone ก็แพงเกินไปและตรวจสอบไม่ได้ละเอียด และไม่ยืดหยุ่นเท่า computer (แต่ผมชอบวิธีนี้นะเพราะสะดวกที่สุดเลย)
หลังจากพัฒนามานาน ในที่สุดก็เป็นตัวนี้...

ใช้ USB Hub จีน(ที่ต้องเอามา modify นิดหน่อย) ลองมาหลายรุ่นละ เสียไปก็เยอะ เจออันนี้ work สุด ใช้ได้ครบทุก port  :)

จากนั้นเราก็ตัดบล๊อคด้วยเลเซอร์คัทเตอร์ เพื่อทำเป็น jig ให้บอร์ดที่จะเบิร์น เพราะเลเซอร์มันสามารถตัดระดับมิลลิเมตรได้ จึง export แบบ
จาก Eagle มาเจาะรูปตรงบริเวณที่เว้นไว้เบิร์น เพื่อเตรียมใส่สิ่งบางอย่างที่ยืดหยุ่นและนำไฟฟ้า ผลก็ออกมาดังนี้..


(โดยที่จริงเราจะออกแบบ PCB มารับส่วน isp แล้วเอาสายแพร์จากเครื่องเบิร์นมาเสียบเอาไว้ แล้วค่อยเอา block ไปครอบ แต่ขออภัยพอดีไม่ได้ถ่ายรูปไว้)

อันนี้ด้านข้าง... ;)


เราต้องการอะไรบางอย่างที่ยืดหยุ่น และนำไฟฟ้า ไปเสียบในรูนั้น หลังจากได้รับคำแนะนำจากรุ่นพี่คนนึง (นานแล้ว) พระเอกของงานจึงเป็นอันนี้... 8)

หลายคนอาจจะอึ้งไปเลยสินะ....  8)ใช่ครับ มันคือที่ใส่สายนาฬิกาข้อมือนั่นเอง!!! ;D

อันนี้คือชิ้นงานตัวอย่าง (รุ่นเก่า คนละบล๊อคกับแบบที่แสดง) โดยที่เราจะเว้นช่องเพื่อเบิร์นเอาไว้..

สังเกตุว่างานผมมันเล็กมาจนไม่สามารถมีพอร์ตเบิร์น (ISP) ไว้ได้ จึงต้องทำบล๊อกขึ้นมา ถ้าเป็นงานอื่นก็ทำแบบเฉพาะกันไปแล้วแต่งาน
เวลาจะเบิร์นเราจะพลิกมันลงมาที่บล๊อก แล้วบิดลูกบิดให้นิ่ง สปริงจะดันระหว่างบอร์ด แล้วนำไฟฟ้าไปสู่บอร์ด pcb ที่เตรียมไว้ด้านล่าง วิ่งไปสู่ port ISP

ด้วยวิธีนี้ เราสามารถเบิร์นคราวละมากๆ ได้ ไม่เสียเวลาเกินไป ไม่ต้องจ้าง รง.เบิร์นด้วย เสียตังค์ แถมเสียงต่อ firmware รั่วไหลอีกด้วย!   ;D

รายละเอียดค่อนข้างเยอะ ผมไม่มีเวลาเล่าให้ฟัง เอาแค่นี้ก่อน ถ้าชอบ กด Like ด้วยนะคับ... ช่วงนี้ไม่ค่อยมีคะแนนเลย อิอิ 8)

jst

สุดยอด  นี่สิ  ของจริง    :o

gui

ขอบคุณครับท่าน ได้ความรู้เพียบ กด Like ให้แล้วครับ