MCU VS PLC ทางเดียวกัน แต่คนละเลน

Started by 108engineering, November 20, 2013, 07:39:55 AM

Previous topic - Next topic

108engineering

สวัสดีครับ เพื่อน ๆ ชาว Electoday   :) :)
     ผมเป็นคนหนึ่งที่ชื่นชอบ ไมโครคอนโทรลเลอร์ ซื้อบอร์ตมาลองเขียนเล่นถามใจว่าทำไม ก็บอกได้ยากนะครับ แต่ลึก ๆ แล้วคาดหวังว่าถ้ามีโปรเจค หรือยากทำโปรเจคอะไรสักอย่างเป็นของตัวเอง ถ้าสามารถเขียนไมโครคอนโทรลเลอร์ได้ก็จะง่าย และสามารถประเมินได้ว่า โปรเจคที่กำลังคิด หรือไอเดียร์ที่มีจะเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน 
แต่ผมทำงานด้าน เครื่องจักรกลอัตโนมัติ ที่ใช้ตัวควบคุมประมวลผลเป็น PLC ครับ แนวผมมองเห็นแนวทางที่สวนทางกัน ไมโครคอนโทรลเลอร์ ทำได้ทุกอย่าง เช่นเดียวกัน PLC ก็สามารถทำได้ทุกอย่าง  ถ้าเราเข้าใจอย่างนี้แล้วสิ่งต่อไปคือ เราจะสร้างอะไร นี่คือประเด็น ในด้านไมโครคอนโทรลเลอร์ ผมติดตาม และคิดว่ามีความรู้ใหม่ ที่เมื่อก่อนมันดูไกลมากเช่น Touch Screen หรือระบบ Wireless แต่ตอนนี้มันเข้ามาใกล้ตัวชนิดที่ว่า อยู่ในมือของทุก ๆ คนเลยที่เดียว และเราก็สามารถศึกษาและเขียนโปรแกรมควบคุมใช้งานมันได้ไม่ยาก กลับเข้าสู่ประเด็นว่าเราจะสร้างอะไร  แต่ในงานด้านเครื่องจักรกลอัตโนมัติ มีโจทย์ที่ชัดเจนมากมายที่เราจะต้องสร้าง ซึ่งโจทย์เหล่านี้อาจไม่ถูกเปิดเผยมากนัก แต่แน่นอนครับถ้าเราก้าวเข้าสู่วงการอุตสาหกรรม จะมีโจทย์ที่เต็มไปด้วยความรีบร้อนในการแก้ไขโจทย์ และทำให้ปัญหาต่าง ๆ นั้นหายไป รวมถึงโจทย์ที่ต้องพัฒนาปรับปรุง เพื่อเป็นข้อได้เปรียบของแต่ละองค์กรรองรับการแข็งขันที่สูงขึ้น
>:( >:(
              แนวทางที่สวนกันชัดเจนคือ ในอุตสาหกรรมเราต้องตีโจทย์ หาวิธีการและสร้างเครื่องมือที่ใช้เฉพาะ เพื่อแก้ไขปัญหาโดยตัวควบคุมหรือประมวลผล แน่นอนครับ PLC เป็นตัวที่ได้รับความนิยม และไว้วางใจ และไม่ต้องคิดว่าจะใช้อะไรแทนมันดี  ในอุตสาหกรรมมองว่าสิ่งสำคัญคือการ คิดตีโจทย์ และหาวิธีการ มากว่าการศึกษาการใช้งานตัวควบคุมเพราะพื้นฐานคือ ตัวควบคุมสามารถทำได้ทุกอย่าง ส่วนในด้านการศึกษา เราศึกษาทุก ๆ อย่าง ด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์ แต่ไม่ได้มีโจทย์ที่ชัดเจน แน่นอนครับ เมื่อมีโจทย์ที่ชัดเจนเค้าถึงจะเรียกเราไป เช่น บริษัทผลิต แอร์ บริษัท ทำ ECU บริษัท ผลิต เครื่องใช้ไฟฟ้า ต่าง ๆ ที่ใช้ระบบฝังตัวในการควบคุม ดังนั้น แนวทางในการศึกษาเมื่อ เรามีลอจิกในการคิดที่ดีแล้วเราก็สามารถตีโจทย์ได้ดี และมีเทคนิค รวมถึงประเมินความเป็นไปได้ เพราะเรามีพื้นฐานในการศึกษาที่ดีแล้ว แต่ยังมีคนกลุ่มใหญ่ ๆ ที่ไม่ได้ศึกษาพื้นฐานที่ลึกซึ้งเหมือนเรา แต่กลับเป็นคนที่ต้องไปตั้งโจทย์ให้เราทำ โดยโจทย์ที่ตั้งมาด้วยความไม่รู้ จะเป็นอะไรที่นะ อธิบายยากครับ
:D :D
   แต่สิ่งหนึ่งที่ อยากให้เพื่อนสมาชิก ศึกษาต่ออีกหน่อยคือ PLC ครับ แน่นอนครับ รูปแบบอาจเปลี่ยนไปจาก Text Base เป็น Ladder Diagram แต่รับรองครับ ง่ายกว่ากันเยอะครับ ซึ่งตอนนี้เอง เจ้า Arduino เองก็เริ่มที่จะเข้าใกล้ PLC มากขึ้นครับ  ลดความซับซ้อนของระบบลง Fix Input Output  และโครงสร้าง เพื่อลดการ Config ต่าง ๆ ให้ใช้งานได้ง่ายขึ้น ตัวแปรและหน่วยความจำต่าง ๆ ถูกกำหนดตายตัว ทำให้เราสามารถเน้นไปที่การใช้งานได้โดยไม่ต้องลึกซึ้งกับการเซตอัป ในกระทู้บทความนี้ ผมจะนำเสนอ มุมมองของ PLC เมื่อเทียบกับ MCU ในตอนต่อ ๆ ไปครับถ้าเราสนใจช่วยดันกันด้วยครับ
ผมดูทักษะทั้งคนที่เข้ามาอ่านกระทู้ และคนที่เข้ามาเขียนกระทู้แล้ว เสียดายถ้าท่านศึกษาได้ลึกขนาดนี้แล้ว ไม่ศึกษา PLC เพราะ PLC นั้นง่ายกว่ามาก ๆ ครับ และเป็นสิ่งที่อนาคตถ้าเราก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมแล้วเราต้องเจอมันอย่างแน่นอน และตอนนี้ก็ขาดแคลนบุคลากรในด้านนี้มากด้วยครับ แล้วผมจะนำเสนอ และแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นกันในตอนต่อ ๆ ไปครับ

8) 8)
ขอบคุณครับ
http://www.108engineering.com
Engineering Knowledge Sharing

108engineering

ผมจะนำเสนอ เกี่ยวกับ PLC และ MCU กันต่อครับ ให้ลองคิดกันเล่น ๆ ถึงรูปแบบ การจัดการ และการใช้งานที่ต่าง กัน ลองมาดูกันนะครับ
:)
            ในประเด็นแรก ผมจะขอกล่าวถึง  รูปแบบของ Package กันก่อน ครับ  PLC กับ MCU เป็นหน่วยประมวลผลที่ทุกคนทราบกันดี  แต่Package แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงครับ ด้วย PLC ออกแบบบนมาตรฐาน CE UL แต่ MCU เป็น Board สำหรับทดลองดังนี้ การนำไปใช้งานจริงที่ต้องรองรับ สภาพแวดล้อมที่ค่อนข้างจะเลวร้าย เช่น ฝุ่น Noise สนามแม่เหล็ก หรือ อุณหภูมิ  ในประเด็นนี้ ชัดเจนว่า ถ้าเราจะทำให้ MCU ของเราต้องไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ใช้ห้องทดลอง ก็ต้องคิดหาวิธีป้องกันกันด้วยครับ



:)            จากรูปจะเห็นได้ว่า MCU ได้พัฒนาไปให้ง่ายขึ้นจากที่เราต้องกำหนด Config ของตัว MCU เองก็ถูกกำหนดตายตัว ทำให้ Config ต่าง ๆ ก็จะถูกกำหนดตายตัวมาให้ด้วยได้เช่นกัน สิ่งที่ต้อง ทำเกี่ยวกับอุปกรณ์การต่อพวงทางอินพุต และเอาต์พุต เมื่อเราใช้ MCU ยกตัวอย่าง ปุ่มกด เราก็จำเป็นจะต้องใช้  R Pull up สำหรับต่อ เป็นปุ่ม อินพุต  และอุปกรณ์ เอาต์พุตจำพวก หลอดไฟ ก็ต้องมี R Drop เพื่อจำกัดกระแส และป้องกันการเสียหาย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ส่วนใหญ่ผู้ผลิต Board จะมีมาให้เราใน Board อยู่แล้วแต่อย่าลืมว่า ถ้าเรานำไปใช้งานจริง ก็จำเป็นต้องมี วงจรจำพวกนี้เข้าไปด้วย และถ้านำไปใช้กับอุปกรณ์ในภาคอุตสาหกรรม สิ่งที่จะต้องออกแบบเพิ่มเติมก็คือ วงจร Opto Isolator ทั้ง Input และ Output และในส่วน Output เองก็ต้องมีวงจร Driver สำหรับการรองรับกระแส และแรงดันที่สูงขึ้น เช่น Transister  หรือ Relay ต่าง ๆ

 

;)            ในส่วนของ PLC  เห็นได้ว่า ระบบจะถูกออกแบบมาใน Package ที่ทนต่อสภาพแวดล้อม และทดต่อการใช้งาน มีอายุการใช้งานเป็น 10 ปี พร้อมสต๊อกของ และ Platform ที่สามารถใช้แทนกันได้ในรุ่นใหม่ ๆ  ส่วนวงจรด้านในก็จะถูกออกแบบมาให้รองรับกับอุปกรณ์ ต่อพวงภายนอกมาตรฐาน อุตสาหกรรม  สามารถต่อพ่วงอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ง่าย และด้วยมาตรฐานอุตสาหกรรม อุปกรณ์ต่าง ๆ ก็สามารถใช้แทนกันได้เมื่อเสีย หรือ ต้องการเปลี่ยน

             ดังนั้นในหัวข้อนี้ จะเห็นได้ว่า PLC นั้นได้ออกแบบมาให้ใช้งานด้านอุตสาหกรรมโดยตรง แต่ MCU ออกแบบมาสำหรับการศึกษา และทดลอง แต่จริง ๆ แล้วด้านใน PLC หน่วยประมวลผลก็คือ MCU นั้นเอง แต่ได้ถูกออกแบบให้มี Platform ที่เป็นมาตรฐานอุตสาหกรรม  และที่สำคัญรูปแบบในการเขียนโปรแกรม สำหรับครับ MCU และ PLC นั้น มีความแตกต่างกันด้วยรูปแบบ ที่เป็น Text Base และ Ladder Diagram ซึ่งจะมีความได้เปรียบเสียเปรียบกันในบ้างอย่าง แล้วผมจะมานำเสนอต่อไปครับ

ลองดูตัวอย่างครับ การสั่งให้ ถ้ากดปุ่ม PB1  ให้ PL1 ติด และถ้า ปล่อย ปุ่ม PB1 ให้ PL1 ดับ

รูปแบบการเขียนแบบ Text Base
while (1)
{
      if (PB_1 == 0)
      {
          PL_1 = 0; // LED ON
      }
      else
     {
          PL_1 = 1; // LED OFF
     }
}


รูปแบบการเขียนแบบ Ladder Diagram


|       PB_1                           PL_1   |
|-------| |------------------------( )---|
|                                                   |

:D :D :D

ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่านบทความ และเป็นกำลังใจให้ทุกคนที่กำลังศึกษาใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ อยู่นะครับ ;)

........................................................
http://www.108engineering.com
Engineering Knowledge Sharing

boe

จริงๆ PLC และ MCU มันก็อันเดียวกันแหละคับผมว่า
เพียงแต่ PLC มันก็เหมือนข้าวกล่องสำเร็จรูปตาม 7-11 เวฟเสร็จเปิดกล่องก็กินได้เลย(ใน PLC มันก็มี MCU เหมือนกันเพียงแต่มีระบบ OS มาให้เรียบร้อยแล้ว)
แต่ MCU มันก็เหมือนของสดที่เราต้องจัดก่อนลงกะทะ ผ่านการปรุงจึงเป็นอาหารให้เราทานได้(ต้องบริหารจัดการ OS เอง)
ซึ่งมันย่อมมีความหลากหลายอย่างแน่นอน
ผมก็เขียนทั้ง 2 อย่างแต่ตอนนี้เริ่มเห็นอะไรบางอย่างว่า MCU น่ะมันไปได้ไกลกว่าเยอะคับ
เด๋วนี PLC ก็เขียนภาษา C ได้เกือบทุกยี่ห้อแล้วเหมือน(ขนาดยี่ห้อจีนยังเขียนได้)กันนับประสาอะไร
ไว่ว่างๆจะลองเอา PLC มาผสมพันธ์ กับ MCU มาให้ชมคับ
ชักหิวแล้ว ขอตัวก่อนน่ะคับ  :D

ไม่มีความยากจน ในหมู่คนขยัน


108engineering

ขอบคุณ คุณ boe ครับที่ร่วมแสดงความคิดเห็นครับ ผมจะรอชม PCU ครับ (PLC + MCU)  ;D

"ผมก็เขียนทั้ง 2 อย่างแต่ตอนนี้เริ่มเห็นอะไรบางอย่างว่า MCU น่ะมันไปได้ไกลกว่าเยอะคับ" เป็นประเด็นที่น่าสนใจครับ ยินดีที่ได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็นในแง่มุมต่าง ๆ ครับ

;)         ในวันนี้ ผมจะขอกล่าวถึงการจัดการหน่วยความจำของ PLC และ MCU นะครับ ใน MCU มีการ Include File เพื่อการอ้างอิงถึง Register ที่ตัว MCU มีอยู่ด้านใน ส่วน PLC ก็คล้าย ๆ กัน ครับ แต่จะเป็นการเลือกตอนที่เราจะเริ่มทำการเขียนโปรแกรมว่า จะเลือกเป็น PLC Model ไหนครับ

  :D        ประเด็นที่น่าสนใจอยู่ที่การจัดการหน่วยความจำที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมครับ ในส่วนของ MCU เราอาศัยการประกาศตัวแปร ระบุชนิดของตัวแปร และขนาดของตัวแปร  เช่น char int float double ส่วน ตำแหน่งหรือ Address ของตัวแปรนั้น แล้วแต่ Compiler จะไปจัดการซึ่งเราก็ไม่รู้ แต่ก็สามารถใช้ Pointer ในการเข้าถึงตำแหน่งโดยตรงได้  ดังนั้นเมื่อเรา Compile ก็จะรู้ว่า หน่วยความจำเราเหลือ มากน้อยเพียงใด  และในส่วนของหน่วยความจำที่ต้องการค้างค่าไว้ เมื่อปิดไฟ ก็จะมีการเข้าถึงในส่วนของพื้นที่ EEPROM  ซึ่งก็จะมีรูปแบบในการเข้าถึงอีกรูปแบบหนึ่ง  และยังมีหน่วยความจำที่เป็น Flash ที่เราสามารถใช้ได้ในลัษณะที่เป็นค่าคงที่ เพื่อไม่ให้เปลือกหน่วยความจำไปโดยเปล่าประโยชน์ ท่านที่ศึกษา MCU ก็ต้องทำความเข้าใจสำหรับหน่วยความจำ ทั้งแบบ RAM ROM และ EEPROM เพื่อเป็นพื้นฐานในการเขียนโปรแกรมและเลือกใช้งานได้อย่างถูกต้องนะครับ

:)          ส่วนการจัดการหน่วยความจำของ PLC จะมีการระบุตายตัว ไม่มีการประกาศตัวแปร [จะยังไม่กล่าวถึง Function Block]   และแบ่งช่วงของหน่วยความจำที่เป็น EEPROM หรือ ค้างค่าไว้ได้ อย่างชัดเจน โดยใช้ตัวอักษร เป็นตัวแยก ชนิดของหน่อยความจำ และใช้ตัวเลขเป็นการระบุตำแหน่งแทนชื่อ เหมือนที่เราประกาศตัวแปร เช่น  D100 แบบ Word [16Bit]  M0 เป็นแบบ Bit  X0 เป็น Input 1Bit  Y10 เป็น Output 1 Bit  DXXX เป็น Datamemory แบบ ค้างค่าได้ ตอนเริ่มเขียนใหม่ ๆ ถ้าเคยเล่น MCU มาก่อน จะรู้สึกว่า ยากหน่อยเพราะ เราไม่สามารถกำหนดหรือ เรียกชื่อตัวแปรในการเข้าถึงได้โดยตรงเหมือนการประกาศตัวแปร แต่ใช้ไปนาน ๆ ก็สอนให้เราแบ่งเป็นกลุ่ม หรือช่วงการใช้งานได้ง่ายขึ้น 

::)          อีกประเด็นที่น่าสนใจคือ การประมวลผลหน่วยความจำ  เราต้องเข้าใจถึงการเรียงตัวของหน่วยความจำกันก่อนครับ D0 D1 D2 จะเป็นหน่วยความจำ 16 บิต ที่เรียงตัวติดต่อกันไป เรื่อย ดังนั้น ในการเข้าถึงของ PLC จะใช้คำสั่งเป็นตัว กระทำว่าจะกระทำแบบ 16Bit หรือ  32 Bit 
ยกตัวอย่างเช่น การเคลื่อนย้าย data  เมื่อมีการกดปุ่ม PB_1 (X1 Input ของ PLC)
>:( >:(
int intA;
int intB=3000;
if (PB_1 ==0)
{
       intA = intB;
}


|        X1                                           |
|------| |-------------[MOV K3000 D0]--|
|                     |                 
|                     |------[MOV D0 D10 ]--|

>:( >:(
float fltA;
float fltB = 1.23;
if (PB_1 == 0)
{
      fltA=fltB;
}

|        X1                                            |
|------| |-------------[EMOV E1.23 D0]--|
|                     |                                  |
|                     |------[EMOV D0 D10 ]--|

;D           จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่าเป็นการ เคลื่อนย้ายข้อมูล แบบ 16 Bit  และ 32 Bit ซึ่ง PLC จะใช้คำสั่ง E นำหน้าคำสั่งใน PLC Mitsubishi เพื่อให้กระทำแบบ Floating (32 Bit) นั่นเอง และการกระทำดังกล่าวก็จะ ใช้หน่วยความจำ 16Bit สองตัวจากตัวอย่างก็จะใช้ D0กับD1  และ D10กับD11 แต่การใช้งานใน MCU จะใช้คำสั่งเดียวกัน แต่ชนิดของตัวแปรที่ใช้ในการประกาศนั้นต่างกัน

           เป็นไงกันบ้างครับ งง กันยัง 555  ผมกลับไปอ่านเองก็ยังงง นะ ไม่รู้เพื่อน ๆ เข้าใจกันหรือเปล่า แต่ในประเด็นต่อไป ผมจะกล่าวถึง คุณสมบัติของ Relay ซึ่งเป็น Relay ที่เรารู้จักกันดี ซึ่งจะมี Coil และ Contact  เพื่อน ๆ น่าจะเคยใช้กันมาบ้างแล้วนะครับ แต่มาดูความมหัศจรรย์ ของมันกันครับ เพราะใน PLC จะใช้คุณสมบัติของ Relay ,มาจัดการทั้งหมดครับ แล้วคอยติดตาม และเป็นกำลังใจกันได้ในตอนต่อไปครับ

ขอบคุณสำหรับกำลังใจดี ๆ หลังไมค์ และเพื่อน ๆ ที่ช่วยกันแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนกันครับ
:D :D :D
................................................
http://www.108engineering.com
Engineering Knowledge Sharing

fixpointer

คนละอย่างกันนะครับ ถ้าคุณเอามาใช้แล้วรู้สึกว่าใช้ยาก  แสดงว่าใช้งานผิดประเภทไง

PLC นี้มัน Industry
MCU นี้มัน Application product

ขอค้านตรงที่ว่า "MCU ออกแบบมาสำหรับการศึกษา และทดลอง"
มันไม่ใช่แค่นั้นนะครับ

เพิ่มเติมหน่อยว่าจริงๆแล้ว PLC เป็น subset ของ MCU เพราะว่า PLC มันเป็น application ชนิดหนึ่งของ MCU

nont_peet

มองต่างมุมกัน แต่ผมก็ชอบครับ ได้ความรู้ดี  ;D
คนรักหุ่นยนต์

boe

นานๆจะตอบกระทู้หลายๆที ;D
เจ้าของกระทู้เคยเล่น LD Micro บ้างรึยังคับ
ลองแล้วอาจติดใจเหมือนผม(งานไม่ซับซ้อนก็ทำงานเหมือนกับ PLC เป๊ะผมใช้ pic16f887)
http://www.electoday.com/index.php/topic,251.0.html
แต่จะรู้เลยว่าข้อจำกัดของ PLC นั้นมีอะไรบ้างโดยเฉพาะเรื่องความยืดหยุ่นของการเขียนโปรแกรม
PLC มันก็คือ subset ของ MCU นั่นแหละคับอย่างที่เค้าตอบข้างบนนั่นแหละคับ
MCU ผมก็ยังงูๆปลาๆอยู่เลยก็ต้องเพิ่งเซียนประจำบอร์ดแถวนี้ช่วยเหมือนกันครัชช 8)

ไม่มีความยากจน ในหมู่คนขยัน

kritsada

จริงโดยทั่วไปคนที่อยู่ด้านระบบสมองกล จะไม่ยึดติดกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งอะไรที่ นักพัฒนาเองสามารถที่จะทำเองได้ก็จะทำ อะไรที่ซื้อได้ถ้าราคาไม่แพงก็จะซือ
ขึ้นอยู่ความประสงค์ของแต่ละท่าน อะไรที่กำหนดตายตัว ต้องอย่างงี้ ต้องต่อแบบนี้ ต้องใช้อุปกรณ์ตัวนี้ ต้องใช้ software  ตัวนี้ ใช้ิ boards แบบนี้ ต้องกำหนดแบบนี้
มันเป็นอะไรที่นักพัฒนาทั้งด้าน Hardware และ  software (โปรแกรมเชิง driver เท่านั้น) ไม่ชอบเอ้าสะเลย
     โอเคอะไรมันง่ายจริงแต่คุณลองดูจริงของความคุ้มค่าต้องการจะนำไปต่อยอดตามที่เราต้องการ มันมักจะต้องไปเจอทางตัน ข้างเป้นแน่ อย่างเช่น ต้องจ่ายเงินเพิ่มขึ้น
เพื่อจะต้องซื้อ Hardware มาต่อแล้วเขียนโปรแกรมควบคุม   เป็นต้น อะไรที่เราจะทำในเชิงธุรกิจมันต้องเป็นอะไรที่ไม่ควรจะสำเร็จรูปจนมากเกินไป เพราะเราต้องซื้อเขาเพื่อจะนำมาใช้ในงานของเรา
     ตัวผมเองอาจจะยอมเสียเวลาออกแบบวงจรดีกว่าจะไปซื้อวงจรมาประกอบแล้วเขียนโปรแกรมควบคุม เพราะมันทำให้เราเข้าใจอะไรมากมากมากมายขึ้นมาแล้ว
นำไปพัฒนาต่อยอดได้รวดเร้วและราคาที่ไม่แพงได้ยิ่งขึ้น มองแรกๆ หลายคนบอกว่า มีขายเยาะแยะจะเสียเวลาซื้อทำไม่ เราซื้อเฉพาะในสิ่งที่คิดว่าจำเป็นเท่านั้น
PLC  ตัวหนึ่งที่ชาตินี้ผมไม่ขอเล่น เพราะมันเหมือน ตัวต่อเลโก้ คุณต้องต่อแบบนี้ ต่อตามนี้แล้วออก  มันเหมาะกับอะไรที่เป็นโรงงาน และถ้าใครจะขี้ช้างจับตักกะแตนก็ไม่ว่ากัน
ที่จะนำมาเขียนเล่นๆ แต่ถ้านำไปเล่นเพื่อเลี้ยงชีพก็ไม่ว่ากันครับ
    ตอนนี้กระแส Pi  โหมมาผมมาลองนั่งคิดดูว่า แล้วลองดูฝรั่งเขาเล่นกัน มันเหมือนขี้ช้าง อะไรไม่รุ้ เอ้าไปใช้งานไม่สมกับประสิทธิภาพที่มันควรจะทำได้
มันมีอะไรที่สำเร็จรูปอยู่แล้วเพียงคุณรู้ว่า  function อะไรทำอะไรก็ใช้งานได้แล้ว แล้ว board Pi นี้เราทำเองไม่ได้เลย ต้องซื้ออย่างเดียวเพราะมี  chip BGA  แบบนี้ไงละครับเป็นเทคโนโลยีที่ผูกขาด ประเทศไทยเรา คนไทยเราเข้าใจว่าเป็นไง

    สรุปคือจะเป็น MCU  หรือ  PLC  สุดท้ายแล้วมันก็ขึ้นอยู่กับตัวคนใช้งานเองว่าต้องการแบบไหน
งานเป็นตัวกำหนด  ถ้าเพื่อการศึกษา  ใช้  board Pi  หรือ  IOIO หรือ Ardino  ก็โอเคนะ
แต่ถ้านำไปใช้ทางธุรกิจเราต้องสร้าง พวกนั้นได้ถึงจะนำไปใช้ในทางการค้าได้