ร้อนนัก วัดซะเลย... Arduino + DS18B20 + C#

Started by sodanum, November 06, 2013, 04:36:36 PM

Previous topic - Next topic

sodanum

เครื่องวัดได้ 34.12  ส่วน Arduino วันได้ ประมาณ 40 ผมเข้าใจถูกเปล่าครับ

ถ้าใช่ ทำไมมันต่างกันเยอะจังครับ..

MAbUS

ขอโทษครับท่านโซดาที่ทำให้เข้าใจผิด ตัวอ่านอุณหภูมิอ่างมันเพี้ยนๆอ่ะครับแต่มันนิ่งนะครับ ผมเลยอ้างอิงกับตัว PT100 มาตรฐาน
จริงแล้วมันตรงกันครับ(PT100 มาตรฐาน,DS1820)ที่ 40.3 องศาเซลเซียส เพียงแต่ว่า sensitivity ของ DS1820 แต่ละตัวไม่เท่ากันนะครับ
ถ้าระบบเปลี่ยนแปลงไวจะเห็นความต่างเลยครับ

samira

Quoteดูเหมือนลดลงไม่มาก แต่ที่จับจากความรู้สึกของตัวเอง รู้สึกมันเย็นสบายขึ้น พอสมควรครับ
อาจจะเป็นเพราะอากาศมีการถ่ายเทมากขึ้น เราเลยหายใจได้สะดวกขึ้น
โดยเฉพาะตรงใกล้ๆ หน้าต่าง จะรู้สึกเลยว่ามีลมเย็นเข้ามา...
ที่รู้สึกเช่นนั้นก็ถูกต้องแล้ว ว่าพอมีลมพัด( พัดลมที่ตั้ง thermostat control ใว้ ) ทำให้รู้สึกสบาย แม้ว่า อากาศรอบตัวจะลดลงไปแค่ 1 องศา
คำอธิบายเรื่องนี้ เป็นเรื่องที่เขาเรียกว่า Wind chill ( factor )

http://en.wikipedia.org/wiki/Wind_chill

มันเป็นปรากฎการทาง physiology ( สรีรวิทยา- ศาสตร์ที่เกี่ยวกับการทำงาน การตอบสนองของร่างกาย
วิชานี้เป็นวิชาพื้นฐานที่เขาสอนใน รร แพทย์ หรือพวกสายวิทย์ชีว..)

ใน ตปท เวลาเขาประกาศอุณหภูมิประจำวัน เขาจะบอกว่า แต่ละวันอากาศอุณหภูมิเท่าไร และ ร่างกายจะรู้สึกเท่าไร

เจ้าตัวหลังนี่แหละ ที่คือความรู้สึกของร่างกายอันเนื่องมาจากแรงลมพัด ที่เขาเรียก wind chill factor
เขาจะมีตารางให้เปรียบเที่ยบดูว่า ความเร็วลมเท่าไร จะทำให้เรารู้สึกว่า "ร่างกายเรารู้สึกเย็นเท่าไร"

พื้นฐานของมันมาจากความจริงว่า ( สรีรวิทยา ) ร่างกายจะเสียความร้อนโดย
๑ การแผ่รังสีความร้อนออกไป( Radiation)
๒ โดยการพาความร้อนออกไป ( convection )
๓ โดยการระเหย ( Evaporation )
๔ โดยการนำออกไป ( Conduction )

นอกจากนี้ อัตราการเสียความร้อนของร่างกายออกโดยการพาออกไป (convection ) ไปยังขึ้นกับความเร็วลมที่พัดผ่านตัวเรา

ร่างกายตัวเรามีอุณหภูมิราวๆ 38 C  รอบตัวเราอย่างบ้านเรา ร้อนคิดว่า ราว 30+ ดังนั้นจะมีแถบขั้นระหว่างอุณหภูมิรอบตัวเรากับอากาศรอบๆกั้นรอบๆอยู่  หากเราทำลายแถบอุณหภูมิระหว่างตัวเรากับอุณหภูมิรอบตัวเสีย เป็นการเปิดโอกาศให้ลมที่เย็นกว่าร่างกายเข้ามาใหม่ ก็จะมีการถ่ายเทเอาลมเย็นใหม่เข้ามาปะทะ( ประกบ ) กับร่างกาย ยิ่งลมยิ่งแรงหรือเร็ว อุณหภูมิรอบผิวตัวเรา ก็จะเย็นเร็วขึ้นด้วย

ดังนั้นจากคำอธิบายข้างบน หากตัวเราเปียก ไปโดนลมเข้า ก็จะรู้สึกเย็นสบายขึ้น

หวังว่าคำอธิบายคงจะเข้ากับที่เขียนมาว่า รู้สึกสบายขึ้น แม้อุณหภูมิจะลดลงไปแค่ 1 องศา
ก็ด้วยคำอธิบายข้างบน แปลว่า แม้ Electronics จะทำงานลดได้แค่ 1 องศา....
แต่.... ร่างกายเรามันทำงานให้เราได้ดีกว่า electronics ( เฉพาะในกรณีที่ จขกท เล่ามาเท่านั้น)

เพราะหากร้อนมาก เราก็คงต้องวิ่งเข้าหาห้องแอร์( พึ่ง electronics )  เพราะลมมันลดอุณหภูมิร่างกายไม่พอในหน้าร้อนจัดๆ

หวังว่าข้อมูลพอจะทำให้เข้าใจดีขึ้นและมีประโยชน์บ้าง

ปล ความรู้เพิ่มอีกนิด ก็คือว่า ปรากฎการณ์ อันนี ในสารหรือวัตถุที่มีชีวิต กับไม่มีชีวิต จะตอบสนองต่างกันกล่าวคือ
ในสิ่งไม่มีชีวิต ไม่ว่าจะลมจะพัดแรงแค่ใหน อุณหภูมิของมันจะไม่ต่ำกว่าอุณหภูมิสิ่งแวดล้อม
แต่....... ในสิ่งมีชีวิต ร่างกายจะตอบสนองต่างออกไป จะมีการปรับของร่างกายตามระบบสรีรวิทยาของร่างกาย
ยกตัวอย่าง ร่างกายจะปรับเพื่อให้อยู่รอด จนในบางกรณีจะทำให้นิ้วมือนิ้วเท้า เน่าไปเลย ( frostbite ) หรือ
จนร่างกายเย็นลงต่ำกว่าอุณหภูมิรอบตัว ( hypothermia )

" If you're born poor, it's not your mistake. But if you die poor, it's your mistake"
Bill Gates.


chatichai

อ่านแล้วได้ความรู้เพิ่มขึ้นมากมาย สะสมไว้ก่อนครับ