Main Menu
Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Topics - Admin

#2
1. เตรียม Raspberry Pi
- Installing the operating system
- Installing the VNC Viewer
- Installing the File Transfer Software WinSCP
- Installing the openplcproject runtime
2. การติดตั้งโปรแกรม OpenPLC Editor
- Download and Installation
- Raspberry Pi pin descriptions
- Additional Hardware I/O Test Board
3. การใช้งานโปรแกรม OpenPLC Editor
- Description of the OpenPLC Editor
- Ladder Logic Example (LD)
- Function Block example (FBD)
- Instruction List example (IL)
- Structured Text examples (ST, SCL)
1. Variable
2. Control structures
3. Conversion operators
4. Standard function blocks according to IEC 61131-3
5. First ST program example
6. ST example for controlling a conveyor belt
7. Defining arrays with the OpenPLC Editor
8. Defining structures with the OpenPLC Editor
9. Combining structures with arrays using the OpenPLC Editor
10. Definition of ENUMs
- Sequential Function Chart example (SFC)
4. OpenPLC และ Modbus
- Testing PLC programs with Modbus TCP
- Visualization of PLC programs with AdvancedHMI
- Visualization of PLC programs via the Internet
5. โมดูล Modbus I/O
- Modbus RTU module with the Arduino UNO
- Modbus TCP module with the ESP8266 and WLAN
- Web server application with the ESP8266 I/O module
#3
ตามปกติแล้วโปรแกรม Node-RED จะติดตั้งมากับ Raspbian OS อยู่แล้ว เราสามารถทดสอบว่ามี Node-RED ติดตั้งแล้วหรือไม่โดยการพิมพ์

node-red

่่ถ้ามี Node-RED ติดตั้งเรียบร้อย จะแสดงหน้าต่างรายละเอียดดังรูปด้านล่าง



ถ้ายังไม่มี Node-RED ติดตั้ง เราก็สามารถติดตั้งได้โดยใช้คำสั่ง

sudo apt-get install nodered

หรือถ้าเราอยากอัพเดทเป็น version ล่าสุด ก็สามารถทำได้โดยใช้คำสั่ง

bash <(curl -sL https://raw.githubusercontent.com/node-red/linux-installers/master/deb/update-nodejs-and-nodered)

หลังจากติดตั้งหรืออัพเดทเรียบร้อย เราสามารถเริ่มต้นใช้งานโปรแกรม Node-RED ได้โดยใช้คำสั่ง

node-red-start

จะมีหน้าต่างแสดงรายละเอียดขึ้นมาดังรูปด้านล่าง ซึ่งจะมีรายละเอียดคำสั่งที่สำคัญอีก 3 คำสั่งคือ

node-red-stop หยุดการทำงานของโปรแกรม Node-RED
sudo systemctl enable nodered.service กำหนดให้โปรแกรม Node-RED เริ่มทำงานทุกครั้งที่มีการบูตระบบ
sudo systemctl disable nodered.service สั่งให้ยกเลิกการกำหนดให้โปรแกรม Node-RED เริ่มทำงานทุกครั้งที่มีการบูตระบบ



เมื่อโปรแกรม Node-RED ทำงาน เราสามารถเข้าใช้งานได้โดยการเปิดโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์แล้วใส่ url เป็นเลข IP ของ Raspberry Pi ตามด้วยเครื่องหมาย : และหมายเลขพอร์ต 1880 เช่น

192.168.1.109:1880

เมื่อใส่ url เรียบร้อยจะปรากฏหน้าต่างเริ่มต้นใช้งานของโปรแกรม Node-RED ดังรูปด้านล่าง แต่ถ้าเราเรียกโปรแกรม Node-RED จากตัว Raspberry Pi โดยตรง ก็ใส่ url เป็น localhost:1880

#5
ทุกวันนี้เป็นเรื่องที่ง่ายมากที่จะค้นหาไลบรารี่ของอุปกรณ์จากอินเตอร์เน็ต ซึ่งมีแจกฟรีเป็นล้านๆ ตัว แต่ความรู้เกี่ยวกับการสร้าง Schematic symbol และ PCB footprint ก็ยังมีความสำคัญและจำเป็น ในตัวอย่างนี้ เราจะมาลองสร้าง Schematic symbol ของไอซีเบอร์ NE555 เริ่มต้นคลิกที่เมนู File -> New -> Symbol ตามรูปด้านล่าง



หลังจากเปิดหน้า New Symbol ขึ้นแล้วให้ทำการ Save ไฟล์ โดยไปที่เมนู File - Save จะมีหน้าต่าง Save as Symbol ขึ้นมา ตรงช่อง Title: ให้กรอกชื่อ Symbol ที่เราจะสร้าง ตัวอย่างเช่น NE555 จากนั้นกดปุ่ม Save



เลือกเครื่องมือสี่เหลี่ยม Rectangle (คีย์ลัด S) ตามรูปด้านล่าง นำมาวางไว้บน editor



ขั้นตอนการวางให้คลิกเมาส์ซ้ายที่จุดเริ่มต้น แล้วลากให้เป็นสี่เหลี่ยม แล้วคลิกเมาส์ซ้ายที่จุดสุดท้ายอีกครั้ง กดปุ่ม Esc เพื่อออกจากคำสั่งล่าสุด



จาก NE555D datasheet จะเห็นตำแหน่งขาและหน้าที่การทำงาน ให้เราทำการวาด Schematic Symbol ให้เหมือนรูปด้านล่าง



ทำการเพิ่มขา IC โดยไปเลือกเครื่องมือ Pin (ลูกศรสีแดงชี้) หรือกดคีย์ลัด P แล้ววางขาลงไปให้ครบทั้ง 8 ขา (หันด้านหัวของแต่ละขาออกจากตัวถัง) สามารถกด Space bar เพื่อหมุนตำแหน่งขา



วางขาให้ครบทั้ง 8 ขา แล้วจัดตัวถังให้พอเหมาะกับจำนวนขา คลิกเลือกที่ขา 1 จากนั้นทำการเปลี่ยนตรงช่อง Name ให้ตรงกับหน้าที่การทำงานของขานั้น



เมื่อทำครบทั้ง 8 ขาแล้ว ให้จัดตำแหน่งขาหมายเลข 5-8 โดยคลิกเลือกที่ขา 5 แล้วกดปุ่ม Ctrl ค้างไว้ จากนั้นเลือกขา 6-8 ตามลำดับ ตัวโปรแกรมจะเลือกทั้ง 4 ขาให้อัตโนมัติ จากนั้นคลิกเมาส์ปุ่มซ้ายที่ขา 5 แล้วเลื่อนไปทางขวา จัดตำแหน่งให้เหมาะสม



จากนั้นคลิกที่ Symbol Wizard (ลูกศรสีแดงชี้) ในหน้า Symbol Wizard เราสามารถเลือก Style ของสัญลักษณ์ได้ ตามตัวอย่างเราเลือก Style แบบ DIP-A จากนั้นคลิก OK



โปรแกรมจะปรับตัวสัญลักษณ์ของเราให้สวยงามขึ้น พร้อมทั้งกำหนดจุด (Mark) สำหรับตำแหน่งขา 1 ให้เราด้วย จากนั้นกด Ctrl + S เพื่อ Save งาน แล้วให้ลองคลิกที่ Library (ลูกศรสีแดงชี้)



ตรง My Libraries - All จะปรากฏไลบรารี่ NE555 ที่เราพึ่งสร้างเสร็จ เมื่อเราคลิกที่ลิสต์ชื่อ NE555 จะปรากฏรูปสัญลักษณ์ของ IC NE555 ขึ้นที่ด้านขวา ตามรูปด้านล่าง



เมื่อเราลองคลิกขวาที่ลิสต์ชื่อ NE555 แล้วเลือก Modify จะปรากฏหน้าต่าง Modify file info ตรงช่อง Tags ให้ใส่คำว่า IC แล้วกด OK



ไลบรารี่ NE555 ของเราจะเพื่อเข้าไปอยู่ในสารบัญ IC ตามรูปด้านล่าง ข้อดีของการกำหนด Tags จะทำให้เราสามารถแยกประเภทไลบรารี่อุปกรณ์ และทำการค้นหาภายหลังได้ง่ายขึ้น

#6
Version Control คือระบบที่จัดเก็บการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับไฟล์ออกแบบ เพื่อที่เราจะสามารถเรียกเวอร์ชั่นใดเวอร์ชั่นหนึ่งกลับมาใช้งานเมื่อไรก็ได้ การเริ่มต้นใช้งาน Version Control ให้คลิกขวาที่โปรเจค จากนั้นเลือกเมนู Version แล้วเลือก Version Management ตามรูปด้านล่าง



จะเข้าสู่หน้า Project Versions ในช่อง Name ตัวไฟล์เริ่มต้นจะมีชื่อว่า master ให้ทำการเปลี่ยนชื่อโดยการคลิกที่ Edit ตรงช่อง Operation (ไฮไลท์สีฟ้า)



จากนั้นจะเข้าสู่หน้าต่าง Edit Version ให้ทำการเปลี่ยนชื่อในช่อง Version Name เป็น V1.0 จากนั้นกด Edit



จากนั้นกลับมาที่หน้า editor แล้วคลิกขวาที่โปรเจค เลือกเมนู Version แล้วเลือก New Version ตามรูปด้านล่าง



จะมีหน้าต่าง Create New Version ขึ้น ตรงช่อง Name: กรอก V2.0 ช่อง Description: กรอกรายละเอียดการเปลี่ยนแปลง เช่น add a LED จากนั้นกดปุ่ม Create



กลับไปที่โปรเจคอีกครั้ง ทำการคลิกขวาแล้วเลือกเมนู Version เลือก Switch Version



ที่หน้าต่าง Switch Version เลือกที่แถบ V2.0 แล้วกดปุ่ม Switch



ตรงแถบ Opened Projects จะมีโปรเจค V2.0 ขึ้นมาแทน ทำการดับเบิลคลิกที่ไฟล์ Sheet_1 (ไฟล์ Schematic)



พอเปิดหน้า Schematic ขึ้นมาเรียบร้อย ให้ทำการ Copy LED1 มาใส่อีกข้าง เป็น LED2 ตามรูปด้านล่าง แล้วกด File -> Save เราก็จะได้โปรเจคเป็น 2 Version คือ V1.0 มี LED 1 ตัว ส่วน V2.0 จะมี LED 2 ตัว

#7
เราสามารถเชื่อมโยงโปรเจคให้ทำงานในลักษณะทีมเวิร์คได้ด้วย ซึ่งจะทำให้ทีมงานสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เริ่มต้นสร้างทีม โดยการไปที่เมนูด้านบนขวา คลิกเลือก Personal Workspace ตามรูปด้านล่าง



จะมีหน้าต่างเบราว์เซอร์ใหม่เพิ่มขึ้นมา ทางแถบด้านซ้ายมือให้คลิกเลือก Teams แล้วสร้างทีมใหม่โดยการคลิกที่เครื่องมือ + (ลูกศรสีแดงชี้)



เราสามารถอัพโหลดรูปประจำทีมใหม่ ได้โดยการคลิกที่ Upload avatar แล้วเลือกรูปของทีม แล้วให้กำหนดชื่อทีมตรงช่อง
Team Name จากนั้นใส่ข้อมูลคราวๆ หรือ รายละเอียดของทีมงานได้ที่ช่อง Team Introduction แล้วตรงช่องเพิ่มสมาชิกทีม Add members เราสามารถทำการเพิ่มภายหลังได้ เมื่อใส่รายละเอียดเสร็จเรียบร้อย ให้คลิก Create team



หลังจากสร้างทีมเสร็จเรียบร้อยให้คลิกที่รูปประจำทีม (ไฮไลท์สีเหลือง)เพื่อเข้าไปหน้าบริหารจัดการ



เมื่อเข้ามาที่หน้าบริหารจัดการแล้ว จะเจอกับเมนูโปรเจค ส่วนของ Schematic module, PCB module ส่วนไลบรารี่ของทีม และส่วนจัดการสมาชิกทีม



เมื่อเราคลิกที่ปุ่ม Add members (ลูกศรสีแดงชี้) จะมีหน้าต่าง Add members ขึ้นมา มี 3 วิธีในการเพิ่มสมาชิกทีม
1. ใส่ Username ของสมาชิกที่เราต้องการเพิ่มเข้ามา
2. ส่งคำเชิญด้วย Link หรือ QR Code
3. ส่งคำเชิญไปทาง email



หลังจากที่เพิ่มสมาชิกใหม่แล้ว จะเข้ามาอยู่ในกลุ่ม Member ซึ่งสมาชิกในกลุ่มนี้จะสามารถสร้างโปรเจคในทีมได้ แต่ไม่สามารถเข้าถึงโปรเจคของผู้ใช้งานคนอื่น



เราสามารถกำหนดให้ผู้ใช้งานคนนี้ เป็นผู้จัดการโปรเจคได้โดยการคลิก Member แล้วเลือก Manager จากนั้นคลิก Confirm เมื่อผู้ใช้งานถูกเลื่อนเป็น ผู้จัดการโปรเจค จะมีสิทธิ์ในการจัดการสมาชิกในทีมและบริหารจัดการโปรเจคทั้งหมด



เราสามารถจัดการลบ กำหนดสิทธิ์การเข้าถึง และแก้ไขข้อมูลทั่วไปของสมาชิกได้ตามรูปด้านล่าง (ไฮไลท์สีฟ้า)



คลิกที่ Settings ตรงล่างสุดของแถบด้านซ้าย จะเข้าสู่เมนู Team settings เมื่อเข้ามาแล้ว จะเป็นส่วนของเมนู Basic เราจะสามารถแก้ไขข้อมูลทั่วไปของทีมได้



จากนั้นให้เลือกเมนู Advanced ตรงส่วนนี้ เราจะสามารถโอนย้ายความเป็นเจ้าของทีมให้กับคนอื่นได้ รวมไปถึงการลบทีม



ย้อนกลับไปที่การเริ่มต้นใช้งาน เมื่อเราสร้างโปรเจคใหม่ โดยการเลือกเมนู File - New - Project จากมีหน้าต่าง New Project ขึ้นมา ตรงช่อง Ower เราจะสามารถกำหนดทีมที่เป็นเจ้าของโปรเจคนี้ได้ ตามรูปด้านล่าง

#8
จากหน้าต่างโปรแกรม เราสามารถเริ่มต้นใช้งานโดยคลิกที่เมนู File - New ซึ่งเราสามารถจะสร้าง Project, วงจร Schematic, ลาย PCB, สัญลักษณ์ Symbol , รูปแบบ Footprint, 3D Model, Spice Symbol, Schematic Module และ PCB Module ได้จากตรงนี้



ทำการเลือก File - New - Project จะมีหน้าต่าง New Project ขึ้นมาเหมือนในรูปด้านล่าง ตรงช่อง
- Owner: คือเจ้าของโปรเจคนี้ ปกติดีฟอลต์จะเป็นชื่อ account แต่เราสามารถสร้างทีมขึ้นมาใหม่ได้โดยการคลิกที่ Create Team
- Title: ชื่อโปรเจค (ต้องมีความยาว 4 - 128 ตัวอักษร)
เมื่อกำหนดค่าเสร็จแล้ว ให้กดปุ่ม / Save



จากนั้นทำการวางอุปกรณ์ลงบนพื้นที่ทำงาน โดยเลือกที่แถบ EELib แล้วเลือกตัวต้านทานแบบ R_AXIAL-0.4_EU ตามรูปด้านล่าง เมื่อเลือกแล้วให้คลิกมาวางบนพื้นที่ว่าง (EasyEDA ยังไม่ซัพพอร์ตการลากแล้ววาง)



ทำการเพิ่มหลอดไฟ LED แบบ LED-TH-3mm_R และแบตเตอรี่ แบบ CR1220-2 การวางแบตเตอรี่ ให้คลิกที่คีย์บอร์ด ปุ่ม Space bar เพื่อหมุน การยกเลิกการวางอุปกรณ์ให้คลิกเมาส์ปุ่มขวา หรือกรณีที่วางไปแล้วต้องการจะลบอุปกรณ์ตัวนั้น ให้ใช้เมาส์คลิกเลือกที่อุปกรณ์ แล้วกด Delete บนคีย์บอร์ด



ทำการวาดเส้นเพื่อเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ โดยเลือกเครื่องมือ Wire (ลูกศรสีแดงชี้) หรือกดปุ่มลัด W บนคีย์บอร์ดก็ได้ แล้วคลิกที่ปลายอุปกรณ์แต่ละตัวเชื่อมกัน มีอีกวิธีคือ คลิกเมาส์ลากอุปกรณ์ ให้ปลายมาแตะกันแล้วลากออก ตัวโปรแกรมจะสร้างเส้นเชื่อมให้อัตโนมัติ 



ทำการเพิ่ม VCC และ GND โดยเลือกสัญลักษณ์จากแถบ Wiring Tools (ไฮไลท์สีฟ้า)



เราสามารถทำการลดขนาดของพื้นที่ทำงานได้โดยคลิกเมาส์ที่ตัว Sheet จะมีหน้าต่าง Sheet Attributes ขึ้นมาทางด้านขวามือ ให้ใส่ขนาดกว้าง x ยาว ที่ต้องการเข้าไปในช่อง Width และ Height แล้วกด Enter



ทำการเปลี่ยนชื่อ TITLE ของ Sheet โดยการดับเบิลคลิกที่ช่อง TITLE แล้วใส่ชื่อใหม่ที่ต้องการในหน้าต่างที่เด้งขึ้นมา เช่น LED จากนั้นกดคีย์บอร์ด Control-S เพื่อ Save



ทำการแปลงจาก Schematic ให้เป็นลายวงจร PCB โดยเลือกแถบเมนู Design - Convert to PCB ตามรูปด้านล่าง



ตัวโปรแกรมจะสร้างหน้า PCB ใหม่ขึ้นมาให้เรา ตรงหน้าต่าง New PCB หัวข้อ Board Outline ให้เลือกเป็น Circular ส่วนตำแหน่ง X และ Y ให้กำหนดเป็น 0 (จุด Original)



ใช้เมาส์ลากครอบอุปกรณ์ทั้งหมด แล้วเคลื่อนมาไว้ภายในเส้นขอบ (Outline) ทำการจัดตำแหน่งอุปกรณ์แต่ละตัว โดยการใช้เมาส์คลิกแล้วลาก เราสามารถกด Space bar บนคีย์บอร์ดเพื่อหมุนอุปกรณ์ให้เหมาะสม



เมื่อจัดวางอุปกรณ์ตามความเหมาะสมแล้ว ให้วาดเส้นลายทองแดงเชื่อมระหว่างขาอุปกรณ์ โดยคลิกที่เครื่องมือ Track บนหน้าต่าง PCB Tools หรือจะกดคีย์ลัด W บนคีย์บอร์ดก็ได้ ระหว่างทำการวาดเส้นลายทองแดง เราสามารถกดคีย์ลัด Tab บนคีย์บอร์ดเพื่อเปลี่ยนแปลงขนาดของเส้นได้



วาดเส้นลายทองแดงให้ครบทุกเส้น ตามที่ Netlist กำหนดไว้ให้ เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะได้ลาย PCB ตามรูปด้านล่าง



เพิ่มข้อความบน PCB โดยการเลือกเครื่องมือ Text บน PCB Tools หรือกดคีย์ลัด S บนคีย์บอร์ดก็ได้ เมื่อนำ Text มาวางบน PCB เรียบร้อยแล้ว ให้เปลี่ยน Layer เป็น TopSilkLayer ได้ที่หน้าต่าง Text Properties จากนั้นให้ทำการเปลี่ยนข้อความโดยการดับเบิลคลิกที่ Text แล้วใส่ข้อความใหม่ลงในหน้าต่างที่โชว์ขึ้นมา แล้วกด Enter



เมื่อเสร็จเรียบร้อยให้แสดงตัวอย่างแบบ 3 มิติ โดยการเลือกเมนู View - 3D View เราสามารถเปลี่ยนสีของ PCB ได้โดยการเลือก Board Color จากหน้าต่าง Canvas Attributes

#9
EasyEDA เป็นเครื่องมือ EDA (Electronic Design Automation) ซึ่งใช้ในการออกแบบวงจร (Schematic) และออกแบบ PCB (Printed Circuit Board) โดยตัวโปรแกรมทำงานแบบออนไลน์อยู่บนคลาวด์ ตัวโปรแกรมมีขนาดเล็กและทรงประสิทธิภาพ เราสามารถเรียนรู้และออกแบบ PCB ได้ในเวลาอันสั้น นอกจากนี้แล้วยังซัพพอร์ต SPICE simulation

EasyEDA ทำงานในลักษณะ Web-base Software คือเป็นโปรแกรมที่เข้าใช้งานผ่านเว็บไซต์ในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ก็เริ่มต้นออกแบบ PCB ได้ทันที (แนะนำให้ใช้งานบน Google Chrome) นอกจากนี้แล้วเรายังสามารถดาวน์โหลดโปรแกรมตัวลูก (Client) มาติดตั้งบนคอมพิวเตอร์ แล้วเปิดใช้งาน

การเข้าใช้งาน ให้ไปที่ https://www.easyeda.com ซึ่งมีวิศวกรใช้งานมาแล้วกว่า 2.8 ล้านคน ทางทีมพัฒนาได้เตรียมไลบรารีอุปกรณ์ไว้มากกว่า 1 ล้านตัว ซึ่งประกอบด้วยสัญลักษณ์อุปกรณ์ (Schematic Symbols) แบบของอุปกรณ์ (PCB Footprints) และส่วนประกอบ 3D Models

การเริ่มต้นใช้งานให้คลิกที่เมนู EasyEDA Designer (ตามรูปลูกศรสีแดงชี้)



จากนั้นจะมีหน้าต่างเริ่มต้นใช้งานขึ้นตามรูปด้านล่าง หากยังไม่ได้เป็นสมาชิก ให้คลิกที่เมนู Register (ปุ่มสีเหลือง) ด้านบนขวา เพื่อทำการสมัครสมาชิกให้เสร็จก่อนและดำเนินการ Login เข้าสู่ระบบ



เมื่อเข้าสู่ระบบเสร็จเรียบร้อยแล้ว เราจะสามารถเริ่มต้นใช้งาน EasyEDA ได้ทันที คำแนะนำการใช้งานเมนูและฟีเจอร์ต่างๆ สามารถดูได้จากหน้า Tutorials (https://docs.easyeda.com/en/FAQ/Editor/index.html) ส่วนถ้าติดปัญหาการใช้งาน สามารถสอบถามได้จากหน้า Forum (https://easyeda.com/forum)



ตัวอย่างการออกแบบสามารถเลือกดูได้จากแถบ Example



ทดลองเปิดตัวอย่าง โดยดับเบิลคลิกที่ 2.4G Telecontrol Board จากนั้นจะมีหน้าต่างขึ้นมา 2 แถบ ให้คลิกที่แถบ Schematic จะโชว์รูปวงจรดังรูปด้านล่าง



จากนั้นให้ลองคลิกที่แถบ PCB จะโชว์หน้าต่างส่วนการออกแบบ PCB ดังรูปด้านล่าง



คลิกที่แถบ EELib (ลูกศรสีแดง) จะมีแถบของไลบรารี EasyEDA แสดงออกมา (ไฮไลท์สีฟ้า) ซึ่งตัวไลบรารีจะมาพร้อมกับโมเดล Simulation โดยพัฒนามาสำหรับโปรแกรม EasyEDA โดยเฉพาะ



ในส่วนไลบรารีแต่ละตัว อาจจะมีรายละเอียดให้เลือกใช้งานตามความแตกต่างของขนาด footprint เราสามารถคลิกที่ลูกศรชี้ลง เพื่อเลือก footprint ของอุปกรณ์ที่เราต้องการใช้งานดังรูปด้านล่าง



เราสามารถคลิกที่แถว Library (ลูกศรสีแดง) จะมีหน้าต่าง Library โชว์ขึ้นมา (ไฮไลท์สีฟ้า) ซึ่งเราสามารถค้นหาอุปกรณ์ต่างๆ โดยใส่คีย์เวิร์ดลงไป